การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • อรทัย เจริญสิทธิ์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี, การวิจัยทางสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิด สมการ และค่าสถิติที่สำคัญของการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ซึ่งการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำนายโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์สามารถนำการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกมาประยุกต์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่สนใจ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่สนใจแล้ว สมการพยากรณ์ยังทำให้ทราบถึงอิทธิพลในเชิงปริมาณของปัจจัยต่างๆ ได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มหรือลดโอกาสของการเกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่สนใจได้ ดังเช่น ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของBoamah (2011) ที่พบว่า พฤติกรรมการไม่มีกิจกรรมทางร่างกาย และความรู้สึกเศร้าหรือสิ้นหวัง เป็นปัจจัยที่เพิ่มความน่าจะเป็นที่จะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งหากลดพฤติกรรมดังกล่าวลงความน่าจะเป็นที่จะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ก็จะลดลง

References

[1] กัลยา วานิชย์บัญชา.(2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

[2] ศศิธร แทนรินทร์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ระดับปริญญาตรีภาคปกติ ปีการศึกษา (2553). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

[3] สุวดี นำพาเจริญ และชลทิชา จำรัสพร. (2558) การวิเคราะห์สมการถดถอย.เข้าถึงจาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=3086&read=true&count=true

[4] อมรา ตันประวัติ. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระคืนเงินกู้โครงการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา: กรณีศึกษา นิสิต นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[5] Boamah, J. (2011). Multiple logistic regression analysis of cigarette use among high school students, Journal of Case Studies in Education,
เข้าถึงจาก
http://www.aabri.com/manuscripts/10617.pdf

[6] Montgomery D., Peck E., Vining G. (2006) Introduction to Regression Analysis, A John Wiley & Sons Inc Publication, New Jersey, page 428-447.

[7] Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social science. Lawrence Erlbaum Associate, Inc., Mahwah, New Jersey page 558-586.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31