แรงจูงใจที่มีผลต่อความคาดหวังและความตั้งใจในการทำผลงานความก้าวหน้าของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความตั้งใจในการทำผลงานความก้าวหน้าของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล (2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก ที่มีผลต่อความคาดหวังและความตั้งใจในการทำผลงานความก้าวหน้าของนักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างคือ นักวิชาการเงินและบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดลที่คุณสมบัติในการทำผลงานความก้าวหน้า จำนวน 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test, F-test และ LSD. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ (multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า (1) นักวิชาการเงินและบัญชีเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งส่วนใหญ่มี อายุ 31 - 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน น้อยกว่า 10 ปี ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชี ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังและความตั้งใจในการทำผลงานความก้าวหน้าโดยรวมแตกต่างกัน แรงจูงใจที่มีผลต่อความคาดหวังและความตั้งใจในภาพรวมในการทำผลงานความก้าวหน้า คือ การได้รับการยกย่องและยอมรับจากสังคม ความต้องการความสำเร็จในงาน ผลตอบแทน ระเบียบ หลักเกณฑ์การประเมินผลงานความก้าวหน้า และการได้รับสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ตามลำดับ
References
[2] กฤษณา ศักดิ์ศรี (2534) มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพ มหานคร : บำรุงสาส์น
[3] ชัชณี กลั่นสอน (2535) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กรณีศึกษา:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.งานนิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยบูรพา
[4] ทวีป อภิสิทธิ์ (2529) คุณภาพของคนกับประสิทธิภาพของงาน. คุรุปริทัศน์. 11,มีนาคม :60-60.
[5] นงลักษณ์ คงคาดิษฐ (2548) การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ที่ศึกษาต่อกับผู้ที่ไม่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.(การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
[6] นารี กลิ่นกลาง (2558) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุน สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
[7] ณัฏฐธิดา เล่าสัม (2546) การเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การวิจัยการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[8] ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535) จิตวิทยาบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท
(2542) จิตวิทยาบริหารบุคคล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท
[9] ประสิทธิ์ ทองอุ่น (2542) พฤติกรรมมนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : เธิร์ด เอ็ดดูเคชั่น
[10] ปัญญา จันทร์กอง (2540) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดทำผลงานงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 7 ของครูในสำกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[11] ปานทิพย์ บุณยะสุด (2540) ทัศนคติของนักสังคมศาสตร์สงเคราะห์ต่อความก้าวหน้าทางอาชีพสังคมสงเคราะห์.ศึกษาเฉพาะกรณีนักสังคมสงเคราะห์สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต (สวัสดิการสังคม) กรุงเทพมหา นคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[12] เรณู ตรีโลเกศ (2549) การศึกษาปัญหาและปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การสึกาษข่อนแก่นเขต 1-5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
[13] เรียม ศรีทอง (2542) พฤติกรมมมนุษย์กับการพัฒนาสังคม : ศาสตร์แห่งการพัฒนาชีวิตและสังคม.กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม
[14] ลัดดา กุลนานันท์ (2544) แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย .ปัญหาพิเศษ รป.ม. (การบริหารทั่วไป).ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
[15] วิภาพร มาพบสุข (2543) มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น
[16] สุภัตรา ลี้ละวงศ์ (2545) การทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ 3 ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานครูสังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม.(การบริหารทั่วไป) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[17] สุวรรณ์ พินิจ (2552) ปัจจัยจำแนกความสำเร็จในการทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษของครูในจังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณบัติ (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา) เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
[18] อลงกรณ์ มีสุทธา (2545) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพ มหานคร:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
[19] Ha,Bong –Woon (2004) “Assessment of Teacher Reactions to the Performance Evaluation System and the Motivational Effects of Teachers to a Performance – based Bonus Pay Program in Korea,” Dissertation Abstracts International. February : 2721.