ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของกลุ่มลูกค้าธุรกิจร้านกาแฟในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธัญวรรณ จรัสสิริภักดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชุลิตา คงแก้ว
  • สาวิตรี มีเกิด
  • อริสรา วีระสุวรรณ
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์
  • ทาริกา สระทองคำ

คำสำคัญ:

ร้านกาแฟ, กลุ่มธุรกิจ, ความผูกพัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ และความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจ
ร้านกาแฟในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่ม
ธุรกิจร้านกาแฟในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน
420 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ t-test, Chi-Square และ One-way
Anova โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.40) ช่วงอายุ 21-25 ปี (ร้อยละ 22.90) มี
สถานภาพโสด (ร้อยละ 56.40) อาชีพนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 31.90) รายได้ 10,001-15,000 บาท (ร้อยละ
21.00) และมีระดับความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจร้านกาแฟในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย
3.82) และ (2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ สถานภาพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของลูกค้ากลุ่ม
ธุรกิจร้านกาแฟในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชบัญชา. (2553). พิชิตใจลูกค้าด้วย VOCM. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จาก http://www.manager.
co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000149121.

วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). สร้างแบรนด์จากประสบการณ์ของลูกค้า. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชย
ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอุสา เกษรสังข์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

อุษณะ อำนาจสกุลฤทธิ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ สำนักเลขาธิการ
นายกรัฐมนตรี. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.

Calder., B.J. (2008). Kellogg on advertising & media (1st ed.). New Jersey: John Wiley & Son.

Keller, K. L. (2008). Strategic brand management: Building, measuring, and managing brandequity
(3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Schaufeli, Salanova, Gonzalez-Roma & Bakker. (2002). ประชากรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สุคร.

Taro Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory. New York: Haper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28