อิทธิพลคั่นกลางของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความพึงพอใจในงานสู่การคงอยู่ของบุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พัชรี ประเสริฐสังข์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในงาน, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี, การคงอยู่ของบุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของความพึงพอใจในงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และการคงอยู่ของบุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาอิทธิพลคั่นกลางของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความพึงพอใจในงานสู่การคงอยู่ของบุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ           กับประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร จำนวน           148 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการตอบกลับครบทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร มีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ความพึงพอใจในงาน และการคงอยู่ของบุคลากร กองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า (1) ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี (2) ความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีมีอิทธิพลทางตรงต่อการคงอยู่ของบุคลากร และ (3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความพึงพอใจในงานและการคงอยู่ของบุคลากร เช่นกัน

References

1. ฆาริน เกียรติเวช. (2560). ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรในโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่.วิทยนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

2. ชุติมา ชุติชีวานันท์. (2554). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (Organizational Citizenship Behavior) ที่มีผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. ปริญญา สัตยธรรม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท วาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

5. ไพโรจน์ อุสิต. (2553). ความแตกต่างระหว่างการบริหารงานบุคคล(Personal Management) กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management). อ้างถึงในฆาริน เกียรติเวช (2560) ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรในโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่.วิทยนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

6. รุจิรางค์ สมนาม. (2557). ความรู้ทางวิชาการ การรักษาพนักงานให้คงอยู่ (Human today). อ้างถึงในฆาริน เกียรติเวช (2560) ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากรในโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กจังหวัดเชียงใหม่.วิทยนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

7. วัลลพ ล้อมตะคุ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

8. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2560). การสูญเสียของบุคลากรกองรายได้ สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพมหานคร: กองรายได้.

9. สิฐสร กระแสร์สุนทร. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของข้าราชการสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา, สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

10. สุปราณี เอกอุ. (2550). การคงอยู่ของพนักงานบริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

11. เสาวภาคย์ ศิลปี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชบริพาร ในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

12. อำพร สมจิตร. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.). ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

13. Chin, W. W. (2001). PLS graph user’s guide version 3.0. Retrieved April 8, 2016, from http://www. Pubinfo.vcu.edu/carma/documents

14. Din, S. U., Ishfaq, M., & Adeel, M. (2016) Investigating the relationship of organizational Citizenship behavior with job satisfaction, organizational commitment and turnover intention: Evidence from the banking sector of Pakistan. Global Journal of management and Business Research: A administration and Management, 16(9),4-12.

15. Kamel, B., Mohmmed, B., & Abdeljalil, M. (2015). Relationship between job satisfaction and organizational citizenship behavior in the national company for distribution of electricity and gas. European Journal of Business and Management, 7(30),1-6.

16. Ulndag, O., Khan, S., & Guden, N (2011). The effects of job satisfaction, organizational commitment, organizational citizenship behavior on turnover intention. Florida International University, 29(2), 1-21.

17. Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24