วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • MAB HOM -
  • วิชากร เฮงษฎีกุล
  • มณีกัญญา นากามัทสึ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ , ธุรกิจส่งออก, ความสำเร็จ, การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ แตกต่างกัน (2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศของบริษัทกรณีศึกษา (3) การนำเสนอวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานของบริษัท ABC ที่ผลิตแป้งมันสำปะหลังส่งออกในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความที่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับปัจจัยส่วนบุคคล 3 กลุ่มขึ้นไป และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ

ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของพนักงาน บริษัท ABC ที่มี เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ในส่วนระยะเวลาในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

ระดับความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.68, S.D.=0.610) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลูกค้า (gif.latex?\bar{x}=4.02, S.D.=0.719 ด้านการเรียนรู้และการเติบโต (gif.latex?\bar{x}=3.67, S.D.=0.764) ด้านกระบวนการภายใน (gif.latex?\bar{x}=3.56, S.D.=0.804)  ด้านการเงิน (gif.latex?\bar{x}=3.47, S.D.=0.738) ตามลำดับ

วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คือ ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ โดยพิจารณาจากค่า P-value = 0.000*, β = 0.783 ซึ่งส่งผลบวก ส่วนด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัวมีค่า P-value = 0.207, β = -.109 และด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติมีค่า P-value = 0.522, β = 0.059 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

References

จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจเนอร์เรชั่นวาย. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์. (2555). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ เขตนครสวรรค์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, การจัดการทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.ลบแย้ม

วิรินธร. (2564). อิทธิพลของกระบวนการจัดการและวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รชยา อินทนนท์. (2563). ธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูชั่น จำกัด (มหาชน).

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2555). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพียร์สัน เอ็คดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

สมชนก ภาสกรจรัส. (2013). หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม. (มิถุนายน 2564). ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2565 จาก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง:

https://www.ditp.go.th/contents_attach/740013/740013.pdf

Daft. R. L. (1998). Organization Theory & Design . New York : West Publishing Co., p. 138.

Daft. R. L. (1999). Leadership Theory and Practice. Forth Worth, TX: The Dryden Press.

Daft, R. L. (2002). The leadership experience. (2 nd ed.). Orlando, Fl: Hart court college Publishers.

Kaplan, R.S. and Norton, D.P. (1996). Using the balanced scorecard as a strategic management system, Harvard Business Review, p.74-75.

Onuoha, C. E., & Okebram, S. M. (2013). Internalization of Organizational Culture: A theoretical perspective. International Journal of Business Tourism and Applied Science, 1(2), 78.

Udayasanhar, K. (2016). International Business : Asia Global Edition. (2, Ed.) New York: McGraw-Hill.

Charles W.L. Hill. (2014). International Business: Competing in the Global Market Place (10 ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-22