การพัฒนารูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเพื่อเข้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง

ผู้แต่ง

  • ฤทธิชา บัวศิริ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • เด่น ชะเนติยัง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบสมรรถนะ, รูปแบบสมรรถนะผู้บริหารการศึกษา, การบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เพื่อเข้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนา สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เพื่อเข้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง มีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ กระบวนการเดลฟาย การสนทนากลุ่มและการประเมินความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างกระบวนการเดลฟายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษา พิเศษ จำนวน 21 คน, การสนทนากลุ่มคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จำนวน 9 คน และการประเมินความคิดเห็น คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหาร งานการศึกษาพิเศษ จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาจากกระบวนการเดลฟายทั้ง 21 คนเห็นด้วยกับ 6 องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิดและผู้เชี่ยวชาญด้าน การบริหารการศึกษา 9 คน ในการกลุ่มสนทนาเห็นด้วยกับองค์ประกอบทั้ง 6 เช่นกัน 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเพื่อเข้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ปกรณ์ศิลป์ พริ้นติ้ง.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2550). มารู้จัก Competency กันเถอะ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

เด่น ชะเนติยัง. (2552). การบริหารบุคคล : Personnal management. ชลบุรี: สำนักส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประมา ศาสตระรุจิ. (2550). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2556). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สือเสริมกรุงเทพ.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2549). การค้นหาและการเจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

พรชัย เจดามาน. (2559). มิติพลวัตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้น 28 ตุลาคม 2560, จาก https://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman

ไพบูล ไชยเสนา. (2550). สมรรถนะการบริหารงานของผู บริหารโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้น 20 มกราคม 2561, จาก https://special.obec.go.th/

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ด้วย Competency based learning. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Lawler, E. E. (2005). The effect of performance on job satisfaction industrial relations, 7(10), 120.

Spencer, M., & Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for superiors performance. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30