การใช้วัฒนธรรมชุมชนเพื่อพัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์: กรณีศึกษา ชุมชนเกาะศาลเจ้า เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ยุวรี โชคสวนทรัพย์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ชุมชนเกาะศาลเจ้า, เขตตลิ่งชัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวัฒนธรรมที่เป็นจุดขายของชุมชน เกาะศาลเจ้าเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 2. ศึกษารูปแบบการใช้วัฒนธรรมของชุมชนเกาะศาลเจ้าเพื่อ พัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3. เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ ชุมชนเกาะศาลเจ้า โดยใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)ประกอบกับทฤษฏีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจาก การท่องเที่ยวในชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน ตัวแทนคณะกรรมการชุมชน การสัมภาษณ์บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน ชุมชนและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยวในชุมชน การสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว การสำรวจภาคสนาม การสังเกต จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเกาะศาลเจ้า มีภูมิหลังด้านภูมิประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นจนเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว มีการนำวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะมาปรับเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้อย่างน่าสนใจ ข้อเสนอแนะในงานวิจัยพบว่า ควรสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมของคนใน ชุมชน ส่งเสริมให้มีการสืบทอดวัฒนธรรมของชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นรวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่า ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักท่องเที่ยวเพื่อนำ ไปสู่ความสมดุลทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างแท้จริง

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. สืบค้น 1 มีนาคม 2561, จาก http://marketingdatabase.tat.or.th/ewt_news.php?nid=24&filename=index

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555-2559. สืบค้น 29 เมษายน 2561, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dL_Link.php?nid=3942

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว (The Visitor Economy). สืบค้น 1 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2014/menu-2014-jul-sep/602-32557-visitor-economy

จุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล.(2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาย่านชุมชนเกาะศาลเจ้าแขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสาร Veridian E-Journal, 9(1), 250-268.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 331-366.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการชุมชนท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กิจกรรมการสำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศย่านตลาดน้ำตลิ่งชันและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: กองการท่องเที่ยวสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว.

ระพีพัฒน์ เกษโกศล. (2557). การจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา สุจฉายา. (2544). ความเชื่อและพิธีกรรมในวิถีชีวิตของชาวสวนคลองบางระมาด ธนบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กรุงเทพฯ มาจากไหน. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2555). ย่านตลิ่งชัน: ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลง. วารสารดำรงวิชาการ, 11(1), 190-217.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2553). มหาสวัสดิ์ 150 ปี มหานทีพระราชทาน. นครปฐม: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เอนก นาวิกมูล. (2552). หลัก-ฐาน-บ้าน-เมือง. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

Pearce, D. G., & Butler, R. W. (1993). Tourism Research: Critiques and Challenges. London: Routledge.

Richards, G. & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS News, 23, 16-20.

Smith, L. W. (2006). Experiental Tourism around the World and at Home: Definitions and Standards. International Journal of Services and Standards, 2(1), 1-14.

Suttipisan, S. (2013). Adaptive Uses of Local Textiles for Creative Tourism Product Development in Thailand. International Journal of Cultural and Tourism Research, 6(1), 47-55.

UNESCO. (2006). Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism Discussion Report of the Planning Meeting for 2006 International Conference on Creative Tourism. Santa Fe, NM: n.p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-10