การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดี ทางวัฒนธรรมแก่นักเรียนในโรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ การอนุรักษ์ และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กรกฎ จำเนียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • เมธาวี จำเนียร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, ภูมิปัญญา, การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม, สารคดีทางวัฒนธรรม, โรงเรียนและการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพฤติกรรมการเปิดรับและความต้องการสื่อชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน 2) ค้นหารูปแบบและเนื้อหาการพัฒนาทักษะ การสร้างสรรค์และผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมแก่นักเรียน และ 3) ติดตามประเมินผลการเรียนรู้ ของนักเรียนผ่านกระบวนการทำงาน ผลผลิตและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์ และผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมของนักเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ มี ตัวอย่างคือ นักเรียนจาก 5 โรงเรียนของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวอย่างเลือกรับสื่อโทรทัศน์มากเป็นอันดับแรก รูปแบบรายการสารคดีทาง วัฒนธรรมทางโทรทัศน์ชุมชนที่ต้องการมากที่สุด คือ สารคดีเชิงท่องเที่ยว และเนื้อหาควรเน้นประเด็นที่ทัน สมัยกำลังเป็นที่สนใจ (2) รูปแบบและเนื้อหากิจกรรมที่จัดอบรมการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์และผลิตสื่อ วีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมแก่นักเรียน ในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการรับสาร ความพร้อมของนักเรียน และความพร้อมของโรงเรียน สำหรับเนื้อหา กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต้องการให้ สอดคล้องกับของดีของแต่ละอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่และข้อมูลที่ทางโรงเรียนมีอยู่ (3) คณะผู้วิจัยติดตาม การประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า มีการเผยแพร่ผลงานของนักเรียนสู่สาธารณะ 21 ผลงาน นอกจากนี้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเรื่องเทคนิคการผลิตสื่อวีดิทัศน์สารคดีทางวัฒนธรรมและได้เรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง และยังได้พัฒนาตนเองโดยผ่านการทำงานเป็นทีม

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2550). เด็กไทยบนทางสามแพร่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และคณะ. (2552). การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (รายงานการวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดวงพร คำนูณวัฒน์. (2548). โครงการดำเนินงานหอกระจายข่าวสารที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างยั่งยืน. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2558, จาก http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG4640011

ธีรศักด์ อริยะอรชุน. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 19 ตุลาคม 2559, จาก www.spu.ac.th/commarts/files/2013/09/บทความ-วิชาการ.doc

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รักชนกชรินร์ พูลสุวรรณนธี และอาคีรา ราชเวียง. (2556). การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง ท่ารำมโนราห์เบื้องต้น. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4. หน้า 48-55. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.hu.ac.th/conference2013/proceedings2013/pdf/Book1/Poster1/131_48-55.pdf

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

เบลลังกา, เจมส์ และแบรนด์, รอน. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. แปลจาก 21st century skills: Rethinking students learn. แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. กรุงเทพฯ: โอเพนเวิล์ดส์.

Guilford, J.P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.

Mackay, W. (1995). Ethics, lies and videotape.... CHI ‘95 Proceedings of the SIGCHI Conference on Human Factors in Computing Systems (pp. 138-145). doi: 10.1145/223904.223922

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-10