การพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่น ในความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • พนิดา ทองเงา ดอร์น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิริวรรณ ศรีพหล สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความยึดมั่นในความเป็นพลเมือง, เยาวชนไทย, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, โมเดลการวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นในความเป็นพลเมือง สำหรับเยาวชนไทยโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้จากการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอนจำนวน 928 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 17-21 ปี และกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของ สถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 แห่ง

ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นในความเปน็ พลเมืองสำหรับเยาวชนไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 8 ตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบที่ 1 ความยึดมั่นในความเป็นพลเมือง ด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ได้แก่ การมีความสามารถด้านพลเมืองการเข้าร่วมกลุ่มหรือองค์กร การมีความประสงค์ที่จะทำเพื่อส่วนรวมและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสาธารณะ องค์ประกอบที่ 2 ความยึดมั่นในความเป็นพลเมืองด้านความรู้สึก ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ได้แก่ ความรู้สึกเกี่ยวข้องกับ ชุมชนและการเมือง และความรู้สึกตระหนักต่อหน้าที่พลเมือง องค์ประกอบที่ 3 ความยึดมั่นในความ เป็นพลเมืองด้านปัญญา ประกอบด้วย2 ตัวบ่งชี้ได้แก่ การมีความรู้ด้านพลเมือง และการมีเจตคติด้าน พลเมือง ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลการวัดพบว่าโมเดลการวัดคุณลักษณะความยึดมั่นในความ เป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 14.116, df = 9, p = .118, GFI = .991, AGFI = .966, SRMR = .022, RMSEA = .037)

References

ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ และวรรณี แกมเกตุ. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความยึดมั่นผูกพันกับความเป็นพลเมืองของนักเรียนไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (OJED), 10(4), 209-223.

ทัศน์วลัย เนียมบุบผา. (2554). รวมพลังสร้างความเป็นพลเมือง. วารสารการศึกษาไทย, 8(79), 3-14.

ทิตญดา โภชนจันทร์ และสิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2560). การพัฒนาแบบวัดปัญหาพฤติกรรมเด็กระดับประถมศึกษาในขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มตส สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(1), 93-113.

ปาจรีย์ หวังรุ่งกิจ, สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และสิริวรรณ ศรีพหล. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความยึดมั่นผูกพันในวิชาการของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38(1), 71-89.

วัชรา ไชยสาร. (2545). การเมืองภาคประชาชน พัฒนาการการมีส่วนร่วมในทางการเมือง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและพหุการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักเมฆขาว.

สมาน ฟูแสง. (2540). การศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสถาบันราชภัฎเขตภาคเหนือตอนบน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดการควบคุมตนเอง: การศึกษาแยกภาวะสันนิษฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(8), 153-167.

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล.(2560). การตรวจสอบความตรงโมเดลการวัดกลยุทธ์การกำกับตนเองในการเรียนรู้เชิงวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(2), 43-60.

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และอุสา สุทธิสาคร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้นำตามแนวคิดคติรวมหมู่ของผู้นำชุมชนที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(14), 114-123.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการใช้เวลาของประชากร พ.ศ. 2558 (กรกฎาคม 2557- มิถุนายน 2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2551). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6(2), 101-115.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2557). พลเมืองไทย: การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

Adler, R. P., & Goggin, J. (2005). What do We Mean By “Civic Engagement”?. Journal of Transformative Education, 3(3), 236-253.

Bandura, A. (1995). Self-efficacy in Changing Societies. New York: Cambridge University Press.

Bebiroglu, B., Geldhof, G. J., Pinderhughes, E. E., Phelps, E.,& Lerner, R. M. (2013). From Family to Society: The Role of Perceived Parenting Behaviors in Promoting Youth Civic Engagement. Parenting, 13(3), 153-168.

Bobek, D., Zaff, J., Li, Y., & Lerner, R. M. (2009). Cognitive, emotional, and behavioral components of civic action: Towards an integrated measure of civic engagement. Journal of Applied Development Psychology, 30, 615-627.

Brese, F., Jung, M., Mirazchiyski, P., Schulz, W., & Zuehlke, O. (2011). ICCS 2009 User Guide for the International Database Supplement 1. Amsterdam: International Association for the Evaluation of Educational Achievement (IEA).

Comrey, L. A., & Lee, B. H. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). Hillsdale, N.J.: Lawrence Erlbaum Associates.

Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1991). Intrinsic Motivation and Self-Determination in Human Behavior. In Richard M. Steers, & Lyman W. Porter (Eds.). Motivation and Work Behavior (pp.44-58). NJ: McGraw-Hill,Inc.

Doolittle, A., & Faul, A.C. (2013). Civic Engagement Scale: A Validation Study. SAGE Open, 3(3), 1-7.

Flanagan. C., A., & Sherrod, L.R. (1998). Youth Political Development: An Introduction. Journal of Social Issues, 54(3), 447-456.

Flanagan, C., A., Syvertsen, A., K., & Stout, M., D. (2007). Civic Measurement Models: Tapping Adolescents’ Civic Engagement. (CIRCLE Working Paper 55). Medford, MA: CIRCLE.

Fredericks, J., A., Blumenfeld, P., C., & Paris, A.,H. (2004). School Engagement: Potential of the concepts, State of the Evidence. Review of Educational Research, 74(1), 59-109.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7thed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hyman, J. B. (2002). Exploring Social Capital and Civic Engagement to Create a Framework for Community Building. Applied Developmental Science, 6(4), 196-202.

Lenzi, M., Vieno, A., Perkins, D. D., Satinello, M., Elgar, F. J., Morgan, A., & Mazzardis, S. (2012). Family Affluence, School and Neighborhood Contexts and Adolescents’ Civic Engagement: A Cross-National Study. American Journal of Community Psychology, 50, 197-210.

Lenzi, M., Vieno, A., Sharkey, J., Mayworm, A., Scacchi, L., Pastore, M., & Santinello, M. (2014). How School can Teach Civic Engagement Besides Civic Education: The Role of Democratic School Climate. American Journal of Community Psychology, 54, 251-261.

Wattananonsakul, S., & Tuicomepee, A.(2014). Protective Predictors of Smoking Intention among lower Secondary School Student in Bangkok, Thailand. Journal of Population and Social Studies, 22(2), 158-173.

Zaff, J., Boyd, M., Li, Y., Lerner, J. V., & Lerner, R. M. (2010). Active and Engaged Citizenship: Multi-group and Longitudinal Factorial Analysis of an Integrated Construct of Civic Engagement. Journal of Youth and Adolescence, 39, 736-750.

Zaff, J. F., Hart, D., Flanagan, C., A., Youniss, J.,& Levine, P. (2001). Developing Civic Engagement within a Civic Context. In Michael E. Lamb, & Alexandra M. Freund (Eds.). The Handbook of Life-Span Development Vol.2 Social and Emotional Development (pp.590-630). New Jersy: John Wiley & Son, Inc.

Zaff,J.F., Kawashima-Ginsberg, K., & Lin, E.S. (2011). Advances in Civic Engagement research: Issues of civic measures and civic context. In R.M. Lerner, JV Lerner, & JB Benson (Eds). Advances in Child Development and Behavior (pp. 273-308). San Diego, CA: Elsevier.

Zaff, J., Kawashima-Ginsberg, K., Lin, E., S., Lamb, M., Balsano, A., & Lerner, R. M. (2011). Developmental trajectories of Civic Engagement across adolescence: Disaggregation of an integrated construct. Journal of Adolescence, 34, 1207-1220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-10