อัตลักษณ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจนำเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญในจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาธุรกิจนำเที่ยว

ผู้แต่ง

  • ศุภกัญญา เกษมสุข คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • มัลลิกา บุตรทองทิม คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วลัยพร สุขปลั่ง คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญของธุรกิจ นำเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) ศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจนำเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญ ของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้มี 2 ขั้นตอน 1) ศึกษาองค์ประกอบอัตลักษณ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญและศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจนำเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญ ของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) ทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน และ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญ ในจังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับรูป แบบการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญในจังหวัดอุบลราชธานี 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการบุคคลากรส่วนสำนักงานของบริษัทนำเที่ยว รองลงมาคือการจัดการนำเที่ยว และโปรแกรมการ ท่องเที่ยวน่าสนใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรมการท่องเที่ยว. (2555, 3 ตุลาคม). ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยมาตรฐานศูนย์บริการข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 129 ตอนพิเศษ 151ง. หน้า 20.

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมการศาสนา. (2557). ช่วงหนึ่งของชีวิตที่งดงาม...บนเส้นทางบุญทั่วไทย: ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.

จำเนียร ชุณหโสภาค. (2554). การศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของไทย (พ.ศ. 2554-2560). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (Ph.D. in Social Sciences Journal), 1(2), 24-37.

ชุมพล รอดแจ่ม. (2555). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ปรีชา แดงโรจน์. (2549). การบริหารจัดการและปฏิบัติงานโรงแรม ศตวรรษที่ 21 ฉบับผู้บริหาร. นนทบุรี: เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2550). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1640&articlegroup_id=307

มัลลิกา บุนนาค. (2548). สถิติเพื่อการวิจัยและตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). ส่วนประสมตลาดการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ฉบับพิเศษ, 80-88.

วาลิกา แสนคำ. (2545). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหงจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2559. โครงการการรายงานและพยากรณ์สถานการณ์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี. (2556). ข้อมูลจำนวนวัดในจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้น 6 กันยายน 2556, จาก http://ubn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=184&Itemid=136

สิญาธร ขุนอ่อน. (2559). มิติทางด้านวัฒนธรรมกับการแสดงความคิดเห็นต่อโรงแรมที่เข้าพักในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยทางเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่พักออนไลน์ของลูกค้าชาวไทยและชาติอื่นๆ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(1), 53-68.

องอาจ นัยพัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.

Alonderiene, R., & Navickiene, R. (2009). Competence development during lifelong learning. The case of front-line employees in Lithuanian tourism sector. Profuseness rengimas: tyrimaiirrealijos, 2009, nr. 18, p. 12-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12