ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก ในร้านสะดวกซื้อ A ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อานุมาต มะหมัด หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตย์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • พีรภาว์ ทวีสุข คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์ตราสินค้า, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก, ร้านสะดวกซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อกระบวนการ ตัดสินใจซื้ออาหารแปรรูปประเภทไส้กรอกในร้านสะดวกซื้อ A จังหวัดกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้ออาหารแปรรูปประเภทไส้กรอกในกลุ่มกรุงเทพกลาง จำนวน 400 คน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การถดถอยพหุคูณ

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านชื่อเสียงตราสินค้ามีอิทธิพลต่อ กระบวนการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะในขั้นตอนด้านการรับรู้ความต้องการ การค้นหาข้อมูลและพฤติกรรม ภายหลังการซื้อ

ต่อมาพบว่าภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านเครื่องหมายตราสินค้ามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ ด้านการรับรู้ความต้องการและพฤติกรรมภายหลังการซื้อ นอกจากนั้นยังพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้า ด้านเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้ามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะในขั้นตอนด้าน การรับรู้ความต้องการ การประเมินผลทางเลือก การตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมภายหลังการซื้อ สุดท้าย ภาพลักษณ์ตราสินค้าด้านประเทศผู้ผลิตสินค้ามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทั้ง 5 ด้าน

References

กมลภพ ทิพย์ปาละ. (2555). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. (การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2559). สถิติ 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2561, จาก http://203.155.220.230/bmainfo/docs/statisticbook/stat_2559_thai.pdf

กันต์ฐศิษฏ์ เลิศไพรงาม. (2551). Brand positioning. กรุงเทพฯ: ไอเอม บุกส์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 11) กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรกร เจริญกุล และ อุมาวสี ศรีบุญลือ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเมล็ดกาแฟของผู้ประกอบการร้านกาแฟขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จุไรลักษณ์ จันทสีหราช. (2553). อิทธิพลของภาพลักษณ์บริษัท ทีมีต่อความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้าบริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐชยา ใจจูน. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. (การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดลภัคว์ อ่องระเบียบ. (2545). อิทธิพลของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนากร ภัทรพูนสิน. (2556). อิทธิพลของความจงรักภักดีต่อตราสินค้าข้าวสารบรรจุถุง. (วิทยานิพนธ์) บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). แนวโน้มการแข่งขันในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1300882690.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2550). พลังแห่งภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค.

พระราชกฤษฎีกาแบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็นเขต พ.ศ. 2516. (2559). รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2561, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/A/107/4.PDF

พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา และพัชร พิลึก. (2556). ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) ในเขตจังหวัดนนทบุรี. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

มาลินี มาลีคล้าย. (2554). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าอิชิตันในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วันดี เหล่าสุวรรณวัฒน์. (2545). ประเทศแหล่งกำเนิด ระดับความเกี่ยวพันของสินค้าและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลรัตน์ เกตุโกมุท และ ศศิธร ง้วนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ยี่ห้อ อีซี่โก ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ. 4(2), 412-429

ศศิธร พูนโสภิณ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์. อาหารแช่แข็งยี่ห้อ อีซี่โก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร. (2560). การพัฒนาคุณภาพอาหารแปรรูปเพื่อการแข่งขัน. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2561, จาก http://fic.nfi.or.th/index.php.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York : John Wiley and Sons Inc.

Bivainiene, L. (2007). Brand image conceptualization: The role of marketing communication. Journal of Economics and Management, 12, 304-310.

Economic Intelligence Center. (2015). มูลค่าตลาด ready meals ในไทย. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://www.greenshopcafe.com/mobi/greennewss.php?id=1202.

Euromoniter International. (2016). ตลาดอาหารพร้อมรับประทานในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=124#

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Janosnis, V. & Virvilaite, R. (2007). Brand image formation. Engineering Economics, 2(52), 78-79

Kapferer, J. N. (2008). The New Strategic Brand Management: Creating and Sustaining Brand Equity Long Term. London: Kogan Page.

Keller, K. L. (1998). Strategic Brand Management Building, Measuring, and Managing Brand Equity.(2nd ed). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2016). Principles of Marketing (Global Edition). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Nunnally, J. C. (1978). Assessment of Reliability. In: Psychometric Theory. (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Vallaster, C. & Lindgreen, A. (2011). Corporate brand strategy formation: Brand actors and the situational context for a business-to-business brand. Industrial Marketing Management, 40(7), 1133-1143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19