ลักษณะของสื่อและการเข้าถึงสื่อที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล กรณีศึกษาร้านกาแฟสดระดับกลาง
คำสำคัญ:
ลักษณะสื่อ, การเข้าถึงสื่อ, การรับรู้ข่าวสาร, ป้ายโฆษณาดิจิทัลบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล 2) ลักษณะของสื่อที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล และ 3) การเข้าถึงสื่อ ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ใช้บริการ ร้านกาแฟสดระดับกลางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 400 คน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี การศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อป้ายโฆษณา เคยได้ยิน เกี่ยวกับสื่อประเภทนี้ ผลจากการวัดระดับความสำคัญพบว่าปัจจัยลักษณะสื่อด้านข้อความ ด้านภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว และด้านการออกแบบกราฟิกมีความสำคัญในระดับมาก การเข้าถึงสื่อ ด้านปัญหาจากสื่อ และด้านตำแหน่งการติดตั้งมีความสำคัญในระดับมาก ส่วนการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัล ด้าน ความง่ายต่อการใช้งาน และด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสำคัญในระดับมาก
ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุและประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัลในภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนลักษณะสื่อมีอิทธิพลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อป้ายโฆษณาดิจิทัลในภาพรวม โดยด้านการออกแบบกราฟิกมีอิทธิพลสูงที่สุด ส่วนการเข้าถึงสื่อมีอิทธิพลสูงที่สุดต่อการรับรู้ข่าวสารผ่านป้ายโฆษณาดิจิทัลในภาพรวม โดยด้านตำแหน่งการติดตั้งมีอิทธิพลสูงที่สุด
References
ธวัชชานนท์ สิปปภากุล. (2548). การยูศาสตร์และกายวิภาคเชิงกล ERGONOMICS. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วาดศิลป์.
บุญรักษ์ กาญจนะโภคิน. (2523). คำบรรยาย วิชากายวิภาคศาสตร์และสริรวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรกุล เพ็ชร์ประยูร และ พรจิต สมบัติพานิช. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และการใช้ประโยชน์จากหนังสือพิมพ์ออนไลน์และนิตยสารออนไลน์ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, (สารนิพนธ์ปริญญาโท ภาคการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พีซีนิวส์เทค จำกัด. (2559). จุดเด่นของสื่อ Digital Signage. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.pcnewstech.com/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). มูลค่าผลิตภัณฑ์ร้านกาแฟสด. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560, จาก www.kasikornresearch.com
สรานี สงวนเรือง. (2560). ส่อง “เซเว่นฯ 4.0” Flagship Store แห่งแรกในไทย. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.faunglada.com/7-11-flagship-store-th/
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2555). ระบบป้ายโฆษณาอัจฉริยะเพื่อ SME.สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560, จาก http://nstdachannel.tv/20160615-palangvit/
สุชาติ ทองรัมภากุล และ สุรศักดิ้ มังสิงห์, (2558). ตัวแบบระบบสื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลสาธารณะเพื่อการกระจายความรู้แบบชัดแจ้ง. (วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศริปทุม
อาภาภัทร บุญรอด. (2560). กลุ่มโซเชียลสูงวัยในยุค 4.0. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/64185
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท วิสคอม เซ็นเตอร์ จำกัด
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3). 319-339.
Dennis, C., Michon, R., Brakus, J., Newman, A., & Alamano, A. (2012). New insights into the impact of digita; signage as a retail atmospheric tool, Journal of Consumer Behaviour, 11(6), 454-466.
Newman, A., Dennis, C. E. & Zaman, S. (2006). Marketing image and consumers’ experience in selling environments, Marketing Management Journal, (Fall), 515-599.
Ravnik, R. & Solina, F. (2013). Audience Measurement of Digital Signage: Quantitative Study in Real-World Environment Using Computer Vision, Interacting with Computers. 25(3), 218-228.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น