แนวทางการพัฒนายุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ยุติธรรมชุมชน, ตำบลหนองโก, อำเภอกระนวน, จังหวัดขอนแก่นบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนายุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนายุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นต้นแบบของศูนย์ยุติธรรมชุมชนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลหนองโก เป็นศูนย์ยุติธรรมชุมชนที่ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2559 ประเภทรางวัลการพัฒนาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับดี เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการและสร้างแรงจูงใจให้ศูนย์ยุติธรรม ชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีอันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานยุติธรรมชุมชนเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งแนวทางการพัฒนางานยุติธรรมชุมชนของศูนย์ยุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก มีแนวทางคือ 1. การผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง 2. การนำภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ 3. การส่งเสริมและสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานยุติธรรมจังหวัด กระทรวงยุติธรรมกับชุมชน 4. ให้มีเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนมาจากประชาชนมากกว่าเจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐและ 5. มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักที่มีกฎหมายรองรับการดำเนินงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดี ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนมากขึ้น
References
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานยุติธรรมจังหวัด. กรุงเทพฯ: แลคแอนด์ฟาวเท่นพริ้นติ้ง.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ และจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2550). ยุติธรรมชุมชน: บทบาทการอำนวยความยุติธรรม โดยชุมชนเพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประภาพร ศรีสถิตย์ธรรม. (2543). การมีส่วนของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนในเขตเทศบาลนคร จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขาวิชารัฐศาสตร์, ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทยในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.
วันชัย รุจนวงศ์. (2550). ยุติธรรมชุมชน: การสร้างความยุติธรรมโดยประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2551). แผนประสานความร่วมมือด้านการสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (พ.ศ.2551-2554). (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดขอนแก่น. (2559). คู่มือการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนและแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). สรุปบทเรียนการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ประจำปี พ.ศ.2559. สืบค้น 8 ธันวาคม 2560, จาก https://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=2&content_id=2848.
สุทิน บุญญาธิการ, ดวงพร บุญครบและรักกิจ ศรีสรินทร์. (2539). การบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษาโครงการที่มีผลกระทบต่อประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ.
Bernstein, B. L., and Lecomte, C. (1976). An Integrative Competency-Based Counselor Education Model. Counselor Education and Supervision, 16(1), 26-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น