อิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, คุณค่าตราสินค้า, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, การนอนหลับบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์ ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลทางแบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง จากผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับ เป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการใช้สถิติ T-test, F-test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 33-37 ปี มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 20,001-30,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพและรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์ ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยคุณค่าตราสินค้า ได้แก่ ด้านการรับรู้คุณภาพและด้านการเชื่อมโยงกับตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถอธิบายการพยากรณ์ความผันแปรของอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทช่วยในการนอนหลับของผู้บริโภคในสังคมออนไลน์ ได้ร้อยละ 35.10
References
กนกวรรณ ราโชกาญจน์. (2563). การสร้างคุณค่าตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม Blackmores ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4426
ณัฏฐณิชชา คำจิตร. (2561). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. University of Phayao Digital Collections. http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/229
เดอะ เบลส อินโนเวชั่น กรุ๊ป. (2563). มูลค่าธุรกิจอาหารเสริมและการเติบโต. https://theblessinnovation.com/supplementmarket2020/
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2563). มุมมองการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคต่างวัย เข้าใจ เข้าถึงจึงโดนใจ. EXIM Knowledge Center. https://kmc.exim.go.th/detail/20190927191211/20210312120206
ธีรเทพ ไชยเสนะ, และ สายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9(2), 253-264. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMSNPRU/article/view/265467/176405
ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2562). วิกฤตแล้ว คนไทย 19 ล้านคน นอนไม่หลับ วงการแพทย์ระดมสมองในวันนอนหลับโลก แนะทางออกที่ถูกต้อง. SALIKA. https://salika.co/2019/03/16/insomnia-problem-solution-for-thai/
พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 67-79. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/220524/152393
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2562). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รพ.จิตเวชโคราช. (2562, 15 มีนาคม). เผยคนไทย นอนไม่หลับ 19 ล้านคน อย่าซื้อยากินเอง. สสส. bit.ly/3WoVInA
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). ตำราหลักการตลาด. มาร์เก็ตติ้งมูฟ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธรรมสาร.
สดุดี บุนนาค. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://doi.org/10.14457/tu.the.2017.640
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Armstrong, G., & Kotler, P. (2017). Marketing: An introduction (8th ed.). Pearson Education.
Cochran, W. G. (1997). Infinite population: Sampling techniques. John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1984). Cronbach’s Alpha Coefficient: Essential of psychology and education. Mc-Graw Hill.
Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson Education
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น