พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานหลังสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการทำงาน, สภาพแวดล้อมการทำงาน, ความสุขในการทำงานบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาผลกระทบของพฤติกรรมการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงาน และศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงาน หลังสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากพนักงาน จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ การทดสอบค่า T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ จากผลวิจัย พบว่า 1) พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และอายุงานแตกต่างกันมีความสุขในการทำงานหลังสถานการณ์ โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน 2) พฤติกรรมการทำงาน สามารถอธิบายการผันแปรของความสุขในการทำงานหลังสถานการณ์ โควิด-19 ได้ร้อยละ 44.7 ตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการทำงาน ความยืดหยุ่นในการทำงาน และความพยายามในการพัฒนาตนเอง และ 3) สภาพแวดล้อมการทำงานสามารถอธิบายการผันแปรของความสุขในการทำงานหลังสถานการณ์ โควิด-19 ได้ร้อยละ 56.7 ตัวแปรที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ สังคมไร้การสัมผัส และการพัฒนาอาชีพ
References
กรมอุตสาหกรรมแรงงาน. (2565). ข้อมูลโรงงาน. https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac/
จันทวัน เบ็ญจวรรณ์. (2564, 5 ตุลาคม). สิ่งแวดล้อม หมายถึงอะไร? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง. Vcharkarn. https://vcharkarn.com/article/สิ่งแวดล้อม-หมายถึงอะไร/
จุฑารัตน์ อนุรักษ์มนตรี. (2558, 20 กุมภาพันธ์). Happy 8 workplace ความสมดุลของการใช้ชีวิต และการทำงาน 8 ประการ. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://bitly.ws/AnCB
ตนุภัทร โลหะพงศธร, และ ณัฐมน สุนทรมีเสถียร. (2564). ความสุขสร้างได้ เปลี่ยนชีวิตให้สุขใจอย่างยั่งยืนด้วยจิตวิทยาชิงบวกและแบบจำลอง PERMA. Becommon. https://becommon.co/life/heart-perma-model-positive-psychology/.
ธัญรดา จิตสุรผล. (2553). แรงจูงใจ ความเครียด และพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน บริษัทประกันวินาศภัย ในกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. SWU Library Catalog. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Man/Thunrada_J.pdf
นิรมล ตันติศิริอนุสรณ์, และ สมชาย คุ้มพูล. (2558). พฤติกรรมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท อินโนเฟรช อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 4(2), 28-37. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/44773/37119
ประสาน หอมพูล, และ ทิพวรรณ หอมพูล. (2540). จิตวิทยาธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่3). สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ภณิดา บุญทวี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 กรมสรรพากร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/2887/1/TP%20BM.005%202561.pdf
วิภาพร สิงห์บุตร. (2561). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรส่วนกลางกรมศุลกากร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 110-124. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ibas/article/download/117880/104427/374402
สุขุม รัตนเสรีเกียรติ. (ม.ป.ป.). PERMA model. Pmcexpert. http://pmcexpert.com/perma-model/
สุปราณี แตงวงษ์, ศากุล ช่างไม้, และ ศิรเมศร์ โภโค. (2565). พฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 71(2), 57-63. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/download/253563/176015/963755
อัญมณี ศรีปลาด, และสุรวี ศุนาลัย. (2564). สภาพแวดล้อมในการทำงาน และคุณลักษณะของงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(2), 134-149. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/download/256965/175117/972156
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson.
Martin, S. (n.d.). PERMA theory of well-being and PERMA workshops. The Trustees of the University of Pennsylvania. http://bitly.ws/ABpm.
Raymond, M. (2021, January 5). How do employees prefer to work remotely? - Locations, allowances & more. Goodfirms. https://www.goodfirms.co/resources/preferences-for-remote-working
Verma, A., Venkatesan, M., Kumar, M., & Verma, J. (2022). The future of work post COVID-19: Key perceived HR implications of hybrid workplaces in India. Journal of Management Development, 42(1), 13-28. https://doi.org/10.1108/JMD-11-2021-0304
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น