ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อปรับปรุงประสบการณ์และประสิทธิภาพการบริการภายในของผู้โดยสารชาวไทยในสนามบินสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐกรานต์ ไชยหาวงศ์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สร้อยบุปผา สาตร์มูล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ความเต็มใจที่จะจ่าย, วิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า, การตั้งคำถามปลายปิดโดยเสนอสองครั้ง, การจัดส่งกระเป๋าของผู้โดยสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อการจัดส่งกระเป๋าและบริการช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วนของผู้โดยสารโดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดสองราคา (Double Bounded CVM) Contingent Valuation Method จากผู้ใช้บริการเสริมส่งกระเป๋าไปยังสนามบิน จำนวน 442 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ประมาณค่าแบบจำลอง Panel Random Effects Logit ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเต็มใจจ่าย ค่าบริการเสริมจัดส่งกระเป๋าที่สนามบิน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 442 คน มีความเต็มใจจ่ายค่าบริการเสริม บริการส่งกระเป๋า กรุงเทพฯ–สนามบิน (โดยสายการบิน) ลดลงเท่ากับ 98 บาท บริการส่งกระเป๋า กรุงเทพฯ–สนามบิน (โดยสายเอกชน) เพิ่มขึ้น เท่ากับ 35 บาท และบริการส่งกระเป๋า กรุงเทพฯ–สนามบิน (แบบมีระบบติดตาม) ลดลงเท่ากับ 125 บาท และ 2. ความสัมพันธ์ของผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มรายได้เกิน 100,000 เพียงแค่ 44 คนจากผู้ให้ข้อมูลทั้งนี้หากเปรียบเทียบกลุ่มคนเหล่านี้กับมาตรฐานรายได้ของชาวไทยถือว่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในทางตรงกันข้ามกลุ่มตัวอย่างส่วนมากส่วนมากจะไม่ได้มีกำลังจ่ายบริการเสริมช่องทางพิเศษ Fast Track Lanes ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแอปพลิเคชัน สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันให้ผู้ใช้บริการเกิดการยอมรับเทคโนโลยีมากขึ้น

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ สมพล ทุ่งหว้า. (2562). ผลของคุณภาพการให้บริการต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของผู้ให้บริการขนส่ง. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(2), 92-106. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/226498

ชนินทร์ มีโภคี. (2558). เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม: Industrial organization มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไชยชนะ จันทรอารีย์, มาเรียม นะมิ, และ อัมพล ชูสนุก. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อและการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 25-40. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/65645

ณิชาภัทร บัวแก้ว และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การเปรียบเทียบลักษณะผู้ใช้บริการคุณภาพบริการที่ได้รับและประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของบริษัทขนส่งเคอรี่เอ็กซ์เพรส จำกัด และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4), 1782- 1796. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/192365

Akerlof, G. A. (1978). The market for “lemons”: quality uncertainty and the market mechanism. In P. Diamond & M. Rothschild (Eds.), Uncertainty in economics (pp. 235-251). Academic Press.

Avcilar, M. Y., & Alkevli, A. (2017). The antecedents of mobile repurchasing intentions: An empirical investigation among Turkish mobile shoppers. International Journal of Business and Management, 12(3), 105-125. https://doi.org/10.5539/ijbm.v12n3p105

Barnett, M., Jermier, J., & Lafferty, B. (2006). Corporate reputation: The definitional landscape. Corporate Reputation Review, 9(1), 26-38. https://doi.org/10.1057/palgrave.crr.1550012

Fombrun, C. J., & Rindova, V. (1996). Who’s tops and who decides? The Social Construction of Corporate Reputations. New York University, Stern School of Business.

Fombrun, C., & Riel, C. V. (1997). The reputational landscape. Corporate Reputation Review, 1(2), 1-16.

Freeman, A. M. (2003). The measurement of environmental and resource values (2nd ed.). Routledge.

Hanemann, W. M. (1984). Welfare evaluations in contingent valuation experiments with discrete responses. American Journal of Agricultural Economics, 66, 332-341. http://dx.doi.org/10.2307/1240800

Hanemann, W. M., Loomis, J., & Kanninen, B. (1991). Statistical efficiency of double-bounded dichotomous choice contingent valuation. American Journal of Agricultural Economics, 73(4), 1255-1263. https://doi.org/10.2307/1242453

Jotikasthira, C., Onputtha, S., & Aimsaard, P. (2020). Customer-contact business strategies affecting organizational reputation of airway businesses. Journal of Logistics and Supply Chain College, 6(2), 129-142. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Logis_j/article/view/243288

Kau, A., & Wan‐Yiun Loh, E. (2006). The effects of service recovery on consumer satisfaction: A comparison between complainants and non-complainants. Journal of Services Marketing, 20(2), 101-111. https://doi.org/10.1108/08876040610657039

Michell, R. C., & Carson, R. T. (1989). Measuring the willingness to pay for environmental resources. In Contingent Valuation: A Critical Assessment (pp. 38-76). North-Holland.

Mitchell, R. C., & Carson, R. T. (1989). Using surveys to value public goods: The contingent valuation method. Resources for the Future.

Rosen, S. (1974). Hedonic prices and implicit markets: Product differentiation in pure competition. Journal of Political Economy, 82(1), 34-55. https://www.jstor.org/stable/1830899

Shapiro, C. (1983). Premiums for high-quality products as returns to reputations. The Quarterly Journal of Economics, 98(4), 659-679. https://doi.org/10.2307/1881782

Stiglitz, J. E. (1986). Economics of the public sector. W. W. Norton & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30