รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อริย์ธัช อักษรทับ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • อิสรี แพทย์เจริญ การจัดการอุตสาหกรรมการบริการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ชาญวิทย์ จาตุประยูร การจัดการอุตสาหกรรมการบริการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, การยกระดับการบริหารจัดการ, วิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับวิสาหกิจชุมชนสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง และกลุ่มผู้มีส่วนสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐในพื้นที่ตำบลบ้านธิ โดยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 15 ราย โดยใช้การประชุมกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมเป็นการเก็บข้อมูลจากประสบการณ์การดำเนินงานจริงเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนจากการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ประกอบด้วยโครงสร้าง 5 ด้าน คือ 1. ด้านการวางแผน 2. ด้านการจัดองค์การ 3. ด้านการจัดคนเข้าทำงาน 4. ด้านการอำนวยการ และ 5. ด้านการประสานงาน นำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความคิดริเริ่ม 2. ด้านความสามารถในการบริหารและการจัดการวิสาหกิจชุมชน 3. ด้านบทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อวิสาหกิจชุมชน 4. ด้านความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชน และ 5. ด้านการทำกิจกรรมด้านสวัสดิการชุมชนและสาธารณประโยชน์ ทำให้เกิดวิสาหกิจชุมชนเข็มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

References

กลุ่มพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. (ม.ป.ป.). การคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนดีเด่นและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้. https://bitly.ws/TQyy

ขวัญชีวา ไตรพิริยะ. (2563). การพัฒนาองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อชุมชน (Creativity for Community) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ธุรกิจชุมชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 71-83. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/247156

คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำพูน. (2563). รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดลำพูน. http://www.lamphun.doae.go.th/wp-content/uploads/2020/03/1.report-visa-january-2563.pdf

ชญานิษฐ์ แสนราชา, พุฒิสรรค์ เครือคำ, นคเรศ รังควัต, และ กังสดาล กนกหงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 4(3), 62-74. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/257362

ทักษญา สง่าโยธิน. (2565). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 17(1), 96-108. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/253869

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 32–37. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17076724.pdf

ภูริพัฒน์ แก้วศรี. (2561). การเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1), 293-305. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/104479

วิมลสิริ อินเจริญ และ ปิยะพงศ์ พัดชา. (2565). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 184-197. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/254409

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). ผู้แต่ง. https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/NationalStrategy/book.html#p=1

อริสรา ชูมี, ภวิษณ์ณัฏฐ์ เวชวิฐาน, และ สมพงษ์ ยิ่งเมือง. (2564). ความมั่นคงทางการเงินของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 1-10. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/250020

Denzin, N. K. (1989). The research act (3rd ed.). McGraw-Hill.

Stoner, J. A. F., & Freeman, E. R. (1989). Management (4th ed.). Prentice-Hall.

Veal, A. J. (2011). Research methods for leisure & tourism a practice guide (4th ed.). Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30