การศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ชัยสุข สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ฉัตรฤดี จองสุรียภาส สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ธฤตวัน เจริญพร สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ชนินทร์ อยู่พชร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ , การกลับมาใช้บริการซ้ำ, ศูนย์การแพทย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก 400 คน จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ  (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.75 มีช่วงอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.75 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 54.50 มีอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 22.25 มีรายได้ต่อเดือน 15,001–30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.50 ใช้สิทธิข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 30.75 ตัดสินใจด้วยตนเองในการเข้าใช้บริการ คิดเป็นร้อยละ 74.00 และส่วนใหญ่มาใช้บริการ 2-5 ครั้ง/ปี คิดเป็นร้อยละ 47.00 นอกจากนั้นภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นข้อมูลปัจจัยคุณภาพการบริการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.13) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.05) และด้านการเอาใจใส่ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.03) เช่นกัน และปัจจัยคุณภาพการบริการมีผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ ได้แก่ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านการเอาใจใส่ โดยทุกปัจจัยมีความสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการโดยอ้างอิงจากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนี้ โดยมุ่งเน้นทุกปัจจัยมีความสำคัญทางสถิติ เพื่อส่งเสริมการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ป่วยนอกในอนาคต

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical hub) พ.ศ. 2561-2569. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical hub) (พ.ศ. 2560-2569). https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf

ไชยชนะ จันทรอารีย์, มาเรียม นะมิ, และ อัมพล ชูสนุก. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการต่อความไว้เนื้อเชื่อใจความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้าโรงพยาบาลพระราม 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(2), 25-40. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/65645

นวลอนงค์ ผานัด. (2556). โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ และคุณค่าที่รับรู้ที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้ำของลูกค้า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1139

บุญสาน ทระทึก, กฤษฎา ตันเปาว์, และ นพดล พันธุ์พานิช. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลคลินิกในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 379-395. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247498

พัชรมน เชื้อนาคะ. (2560). คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2271

พิมพ์ชนก อรรถวิเวก. (2562). การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส () จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3104

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3508

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และ สมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร ภาค203 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2860

สรวัชร์ สุดแก้ว. (2563). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.]. DSpace at Burapha University. http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/220

สุมัทนา กลางคาร และ วรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์.

Best, W. J. & Kahn, J. V. (1995). Research in education. Prentice–Hall of India Private.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. John Wiley.

Engel, J. F., Blackwell, R. D., & Miniard, P. W. (1993). Consumer behavior. Dreyden Press.

Kim, C., Galliers, R. D., Shin, N., Han, J., & Kim, J. (2012). Factor influencing internet shopping value and customer repurchase intention. Electronic Commerce Research and Application, 11(4), 374-387. http://dx.doi.org/10.1016/j.elerap.2012.04.002

Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition. Person Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2006). Marketing management (12th ed.). Prentice Hall.

Larrabee, J. H., Engle, V. F., & Tolley, E. A. (1995). Predictors of patient-perceived quality. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 9(3), 153-164. https://doi.org/10.1111/j.1471-6712.1995.tb00406.x

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50. https://doi.org/10.1177/002224298504900403

Zeithaml, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46. https://doi.org/10.2307/1251929

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31