อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคแบรนด์ EP
คำสำคัญ:
อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียง, การตัดสินใจซื้อ, เสื้อผ้าบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคแบรนด์ EP มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคแบรนด์ EP การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเลือกตัวอย่างเป็นผู้บริโภคเพศหญิง จำนวน 395 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมประมวลผลทางสถิติสำเร็จรูป ผลวิจัย พบว่า อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้ง 5 ด้าน คือ ความดึงดูดใจ ความไว้วางใจ ความเชี่ยวชาญ ความเคารพและความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย และความเหมาะสมของราคา ด้านการส่งเสริมการขาย การบริการของพนักงาน และการสื่อสารผ่านโซเชียล มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคแบรนด์ EP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
โชติกา วิบูลย์ศิริวงศ์. (2561). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางออนไลน์ (อินสตาแกรม) ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3711
ณัฏฐ์หทัย เจิมแป้น. (2560). การโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สก๊อตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2414
วรรษมน อินทรสกุล. (2557). อิทธิพลของอินสตาแกรมบุคคลที่มีชื่อเสียงต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแฟชั่นออนไลน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3506.
อดัม, ดี. เค. (2563, 15 มิถุนายน). ความสำคัญของเสื้อผ้าและแฟชั่นคืออะไร. Thaifashionnow. https://thaifashionnow.com/author/diane-ka/page/2/
Chan, K., Ng, Y. L., & Luk, E. K. (2013). Impact of celebrity endorsement in advertising on brand image among Chinese adolescents. Young Consumer, 14(2), 167-179. http://dx.doi.org/10.1108/17473611311325564
Cialdini, R. B. (2007). Influence: The psychology of persuasion. Harper Collins.
Dom, S. M. S. M., Suhaila, H., Lim, A., & Fern, T. T. (2016). Determinants of the effectiveness of celebrity endorsement in advertisement. The Journal of Developing Areas, 50(5), 525-535. http://dx.doi.org/10.1353/jda.2016.0033
Erdogan, B. Z. (1999). Celebrity endorsement: A literature review. Journal of Marketing Management, 15(4), 291-314. http://dx.doi.org/10.1362/026725799784870379
McCracken, G. (1989). Who is the celebrity Endorser? Cultural foundations of the endorsement process. Journal of Consumer Research, 16(3), 310-321. http://dx.doi.org/10.1086/209217
Muda, M., Musa, R., & Putit, L. (2017). Celebrity endorsement in advertising: A double-edged sword. Journal of Asian Behavioural Studies, 2(3), 21–32. https://doi.org/10.21834/jabs.v2i3.188
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior (9th ed.). Prentice-Hall.
Shimp, T. A. (2003). Advertising, promotion and supplemental aspects of integrated marketing communications (6th ed.). Thomson South Western.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น