ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด คุณลักษณะของเทคโนโลยี AR และความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม AR ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ กองกานต์รุจิ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จิราพร ชมสวน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วริศรา แหลมทอง National University, U.S.A.

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, ความตั้งใจซื้อ, เจเนอเรชั่น ซี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่น ซี ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่น ซี ในกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กับความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่น ซี ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ กลุ่มผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุเกิดในช่วงปี พ.ศ. 2538-2558 หรือ เจเนอเรชั่น ซี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่พัฒนาโดย Google ฟอร์ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภค Generation Z ในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะด้านประชากรศาสตร์ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจําหน่ายออนไลน์ที่แตกต่างกัน ส่วนเพศ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจําหน่ายออนไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน โดยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจําหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในกรุงเทพมหานคร ด้านคุณลักษณะของเทคโนโลยี AR มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านช่องทางการจัดจําหน่ายออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภค Generation Z ในกรุงเทพมหานคร

References

กัญจณิพัฐ วงศ์สุเมธรต์. (2549). กระบวนการดำเนินงานโฆษณา. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ญาตาวี ทิพย์เที่ยงแท้. (2565). อิทธิพลของเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางผ่านทัศนคติต่อเทคโนโลยี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4576

ทวีพร พนานิรามัย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ A ของผู้บริโภคในเขตยานาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1650

ธัตทพร เพ็ชด้วง. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อธัญพืช เพื่อสุขภาพกราโนล่า ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3783

ธันยาภรณ์ จันทะวงค์ และ ศิริรัตน์ โกศการิกา. (2564). ปัจจัยกลุ่มบุคคลอ้างอิงส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 314-329. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262992

พาส่องพฤติกรรมผู้บริโภค 2022 เจาะลึกไลฟ์สไตล์ความต้องการแต่ละ GEN. (2565, 5 ตุลาคม). ZORT Portal. https://zortout.com/blog/behavior-4-generations-marketing-plan

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับสมบูรณ์. วสิทธิ์พัฒนา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. ธีระฟิล์มและไซเท็ก.

อลิน ปราชญาภาณุชาติ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. SUTIR. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/8031

Cochran, W. G. (1963). Sampling technique (2nd ed.). John Wiley and Sons.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An Introduction to theory and research. Addison-Wesley.

Ivy, J. (2008). A new higher education marketing mix: The 7PS for MBA Marketing. International Journal of Educational Management, 22(4), 288–299. https://doi.org/10.1108/09513540810875635

Javornik, A. (2016). Augmented reality: Research agenda for studying the impact of its media characteristics on consumer behavior. Journal of Retailing and Consumer Services, 30, 252-261. https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2016.02.004

Kotler, P., & Keller, K. (2008). Marketing management (13th ed.). Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing management (Global ed.). Pearson Prentice Hall.

McCarthy, E. J. (1960). Basic marketing: A managerial approach. R. D. Irwin.

Mollen, A., & Wilson, H. (2010). Engagement, telepresence and interactivity in online consumer experience: Reconciling Scholastic and managerial perspectives. Journal of Business Research, 63(9–10), 919–925. https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2009.05.014

Poushneh, A., & Vasquez-Parraga, A. Z. (2017). Discernible impact of augmented reality on retail customer’s experience, satisfaction and willingness to buy. Journal of Retailing and Consumer Services, 34, 229–234. https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2016.10.005

Sengupta, A., & Cao, L. (2022). Augmented reality’s perceived immersion effect on the customer shopping process: Decision-making quality and privacy concerns. International Journal of Retail and Distribution Management, 50(8/9), 1039–1061. https://doi.org/10.1108/ijrdm-10-2021-0522

Wang, Y., Ko, E., & Wang, H. (2022). Augmented reality (AR) app use in the beauty product industry and consumer purchase intention. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 34(1), 110–131. https://doi.org/10.1108/apjml-11-2019-0684

Yim, M. Y. C., Chu, S.-C., & Sauer, P. L. (2017). Is augmented reality technology an effective tool for e-commerce? An interactivity and vividness perspective. Journal of Interactive Marketing, 39(1), 89–103. https://doi.org/10.1016/j.intmar.2017.04.001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25