แรงจูงใจและสภาพแวดล้อมการทำงานในยุคปกติถัดไปที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการทำงาน, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความผูกพันองค์กรบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความผูกพันองค์กรของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ 2. ศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร 3. ศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากบุคลากรหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ใช้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 300 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน
การวิจัยด้วยสถิติ Independent Sample t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อายุงานในหน่วยงาน ระดับการศึกษา และประเภทบุคลากร ที่แตกต่างกัน มีความผูกพันองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 2. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร ซึ่งประกอบด้วย การได้รับการยอมรับนับถือ (X1) ความก้าวหน้าในการทำงาน (X2) และค่าตอบแทนและสวัสดิการ (X3) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์พหุคูณ = 0.485 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับ = 0.480 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย = 0.352 ซึ่งสามารถพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบได้สมการ ดังนี้ Y = 1.747 + 0.210 (X1) + 0.265 (X2) + 0.109 (X3) 3. ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากร ซึ่งประกอบไปด้วย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (X1) การทำงานแบบยืดหยุ่น (X2) สังคมไร้การสัมผัส (X3) และนวัตกรรมในการทำงาน (X4) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์พหุคูณ = 0.515 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับ = 0.509 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย = 0.342 ซึ่งสามารถพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบได้สมการ ดังนี้ Y = 1.662 + 0.104 (X1) + 0.204 (X2) + 0.198 (X3) + 0.134 (X4)
References
กชกร สุวรรณะ และ สุรวี ศุนาลัย. (2566). พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานหลังสถานการณ์โควิด-19 ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 37(2), 57-68. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/263411
กมลวรรณ ปานประดิษฐ์ และ อดิศร ภู่สาระ. (2563). แรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 113-121. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/240033
กรณ์ธนัญ กิมศุก. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่มีระบบการทำงานทางไกลแบบทำที่บ้าน (Work from home) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. มหาวิทยาลัยมหิดล. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3994
ชูเกียรติ ยิ้มพวง. (2554). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด โรงงานจังหวัดปทุมธานี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/718
ธนกร กรวัชรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงาน บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด มหาชน [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1167
ธเนศร์ คำสอน และ สมเกียรติ วันทะนะ. (2566). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ กรมส่งเสริมสหกรณ์. วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์, 1(1), 19-26. https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/32
ธัญญารัตน์ สาริกา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ]. ระบบฐานข้อมูลบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2566/research.rmutsb-99-20230531105625944.pdf
ธิดารัตน์ ดวงจันทร์. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. โครงการพิเศษของ MMM มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin10/6314154021.pdf
ปกรณ์เกียรติ นิจสุข. (2566). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรมการท่องเที่ยว. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 1-8. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2704
ปฏิมากร ทิพเลิศ. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของสมาชิกศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ บ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=60426423119
ปัทมาภรณ์ กุสุมภ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกของข้าราชการ กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collection. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:142130
ปุญชรัสมิ์ ตุงคง และ ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทํางานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 130-147. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/249005
พิชชาภร จวงวาณิชย์. (2560). อิทธิพลของช่วงอายุต่อความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. https://shorturl.asia/v7IXq
พุทธพันธุ์ สอนอิ่มสาตร์. (2565). ปัจจัยความสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานยุค Next normal ของพนักงานในอุตสาหกรรมส่วนประกอบยานยนต์ เขตอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี [การศึกษารายบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Buddhapan.Soni.pdf
ภัทรฉัตร รุ่งแสง และ จารุกฤษณ์ เรืองสุวรรณ. (2566). ความผูกพันต่อองค์กรของกําลังพลทหารนาวิกโยธิน กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 1-12. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2814
มัทวัน เลิศวุฒิวงศา. (2564). ความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของพนักงานเอกชน กรณีศึกษาบริษัทจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://shorturl.asia/0u1bS
เวทิญาณ์ เจษฎาถาวรวงศ์. (2561). ความผูกพันต่อองค์การของเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐเขตบริการสุขภาพที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2064
ศุภลักษณ์ พรมศร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน การรับรู้รูปแบบภาวะผู้นำของพนักงาน ความผูกพันในงานกับความพึงพอใจในงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91618
อัญมณี ศรีปลาด และ สุรวี ศุนาลัย. (2565). สภาพแวดล้อมในการทำงาน และคุณลักษณะของงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(2), 134-149. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/256965
Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), 533-546. http://hdl.handle.net/2152/29309
Glimmer, B. V. (1971). Applied psychology. McGraw-Hill.
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1975). Development of the job diagnostic survey. Journal of Applied Psychology, 60(2), 159-170. http://dx.doi.org/10.1037/h0076546
Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. John Wiley and Sons.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. Harper and Row.
McClelland, D. C. (1985). Human motivation. Cambridge University.
Mowday, T. R., Porter, L. W., & Steers, R. M. (1982). Employee-organization linkages: The psychology of commitment, absenteeism, and turnover. Academic Press.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56. https://doi.org/10.2307/2391745
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). Motivation and work behavior. McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น