แนวทางการบริหารจัดการมลพิษของฟาร์มไก่เนื้อระบบปิด เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปภัสรินทร์ อนันต์มณีชัย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุกัญญา สิงห์ตุ้ย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารจัดการมลพิษ, ฟาร์มไก่เนื้อระบบปิด, การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการมลพิษของฟาร์มไก่เนื้อระบบปิด เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรของฟาร์มไก่เนื้อในโรงเรือนระบบปิดในเขตพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 240 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วย
t-test  และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการมลพิษจากฟาร์มไก่เนื้อระบบปิด เพื่อดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนตามความคิดเห็นของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าเกษตรกรให้ความสำคัญกับด้านลักษณะของฟาร์มมากที่สุด รองลงมาคือด้านการจัดการฟาร์ม และด้านทำเลที่ตั้ง ตามลำดับ และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ฟาร์มไก่เนื้อระบบปิดในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนคนงานในฟาร์ม ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจฟาร์มไก่ และจำนวนไก่ที่เลี้ยง แตกต่างกันมีแนวทางการบริหารจัดการมลพิษของฟาร์มไก่เนื้อระบบปิด เพื่อการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนแตกต่างกัน (p≤0.001) โดยผู้ประกอบการฟาร์มไก่สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ไปเป็นแนวทางในการจัดการแก้ไขและป้องกันการเกิดมลพิษจากฟาร์มไก่เนื้อในโรงเรือนปิด (อีแวป) เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและผู้ประกอบการ

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2560). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่เนื้อ. https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_BROILER_FARM.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ครองช่าง.

คมวิทย์ ศิริธร และ ภูธเนตร ชูพงษ์. (2562). การประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนระบบปิดในเทศบาลตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 154-166. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/215759

เฉลิมชัย หอมตา. (2563). การศึกษาสภาพการเลี้ยงไก่เนื้อโคราชของเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อโคราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/8349

ณิชากานต์ ลันขุนทด, สุขสันติ์ หอพิบูลสุข, และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2565). ปัจจัยนวัตกรรมของธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(4), 243-254. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/259236

ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2551). สบู่ดำกับการบำบัดแคดเมียนในดิน. ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์ประสานงานสารนิเทศ สาขาเกษตรศาสตร์. https://agkb.lib.ku.ac.th/jatro/search_detail/result/154193

เบญจภา คงสุข. (2563). การพัฒนานวัตกรรมในการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่าสู่มาตรฐานด้านการตลาดสำหรับเกษตรกรรายย่อย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พวงเพชร ปฏิญาณานุวัต. (2554). แนวทางการจัดการมลพิษจากฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนระบบปิด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Library and Information Center, NIDA. http://library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2554/19731.pdf

วริษา สินทวีวรกุล และ วิษณุ ช้างเนียม. (2560). เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่โดยการออกแบบพัฒนา และใช้แอปพลิเคชันบันทึกประมวลผล และรายงานผลข้อมูลการให้ผลผลิตของฟาร์มไก่ไข่บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. [รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง]. คลังข้อมูลการวิจัยการเกษตรไทย. https://tarr.arda.or.th/preview/item/D9i4rIYrwqkJWEgQv6bwC

วิไลลักษณ์ ชาวอุทัย. (2555). มลภาวะทางอากาศและทางเสียงจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์. วารสารปศุสัตว์เกษตรศาสตร์, 39(153), 47-53. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/JKLM/search_detail/result/49933

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. (2564, 1 กรกฎาคม). เนื้อไก่ อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง 15 ปีที่ผ่านมา. https://www.nxpo.or.th/th/8056/

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). (2561). ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี.http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9373

อัญชลี อินทจันทร์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการประกอบธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10578

International Institute for Sustainable Development. (1987). What is sustainable development?. http://www.iisd.org/sd/

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9780203851319

Secretary-General. (1987). Report of the World commission on environment and development. UN. https://digitallibrary.un.org/record/139811?v=pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25