การจัดการอัตรากำลังผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์ในประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาวิชาชีพตามแนวนโยบายขององค์การอนามัยโลก

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ พึงพิพัฒน์ หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จักรพงศ์ มงคลศิริวัฒนา หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • นคร ศิริฐานนท์ หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เมธาวี หวงพลานันท์ หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ดนัย ตันเกิดมงคล หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุรวี ศุนาลัย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ทัศนมาตรศาสตร์, การประกอบโรคศิลปะ, อัตรากำลัง, SPECS2030, ระบบสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การแก้ไขปัญหาสายตาและสุขภาพตาเป็นส่วนหนึ่งของบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขปฐมภูมิที่สำคัญ โดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านนี้ ปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยมีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรศาสตร์จำนวน 725 คน อย่างไรก็ตาม ความต้องการบริการด้านสุขภาพตายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ การใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป้าหมายของโครงการ Sustainable Practices in Eye Care Services 2030 (SPECS 2030) ขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพระบบสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสายตาอย่างทั่วถึง

การศึกษานี้วิเคราะห์อัตรากำลังของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์ในประเทศไทย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Analysis) เปรียบเทียบอัตรากำลังของประเทศกับมาตรฐานสากลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สภาทัศนมาตรศาสตร์โลก (WCO) องค์กรสากลเพื่อป้องกันอาการตาบอด (IAPB) และประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงการคาดการณ์อัตราการผลิตบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า อัตรากำลังของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์ในประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,400 คน ที่ประชากรสูงสุด 70 ล้านคน อาจส่งผลต่อการเข้าถึงบริการของประชาชนในระยะยาว การพัฒนาอัตรากำลังให้สอดคล้องกับแนวทางสากลจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพตาและสนับสนุนการปฏิรูปสาธารณสุข ข้อเสนอแนะสำคัญจากการวิจัยนี้คือ ควรกำหนดเป้าหมายระดับประเทศเพื่อพัฒนาอัตรากำลังผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ WHO และ IAPB รวมถึงการบูรณาการบทบาทของผู้ประกอบโรคศิลปะเข้าสู่ระบบสาธารณสุขภาครัฐให้มากขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและกระจายบริการสุขภาพตาได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมการปกครอง. (2560). สถิติประชากรและบ้าน-จำนวนประชากรแยกรายอายุทั่วประเทศ พ.ศ. 2553. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ ครั้งที่ 3-5 ประจำปี พ.ศ. 2566. ผู้แต่ง.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566, 20 ตุลาคม). จำนวนผู้ประกอบโรคศิลปะ 30 กันยายน 2566. https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=8537

กฤษดา แสวงดี และวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. (2554). รายงานการสังเคราะห์ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขในระยะ 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2552-2561). คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ.

พิสุทธิ์ สมโภชพิสุทธิ์ และเกียรติพร อำไพ. (2563). การควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 203-218. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/237788

วิวัฒน์ชัย อัตถากร. (2567). จากเศรษฐกิจยุคดิจิทัลสู่สงครามยุคควอนตัม. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 31(1), 31-60. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ppmjournal/article/view/264593

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2558, 23 มกราคม). ความท้าทายของแรงงานไทยในยุคดิจิตอล. https://tdri.or.th/2015/01/thailaborinthedigitalage/

สมาคมนักทัศนมาตรศาสตร์ไทย. (2565). รายงานข้อมูลในด้านการประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตร. ผู้แต่ง.

อัศวิน เสนีชัย, กนก พานทอง, และศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์. (2564). การศึกษาปัญหาและแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ของนักทัศนมาตรของประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(5), 1981-1994. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/244010

อัศวิน เสนีชัย. (2563). อนาคตภาพนักทัศนมาตรของประเทศไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. DSpace Repository. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8869

George, P. P., Yun, O. C. S., Siow, K., Saxena, N., Heng, B. H., Car, J., & Lockwood, C. (2019). Is there scope for expanding the optometrist’s scope of practice in Singapore?–A survey of optometrists, opticians in Singapore. Contact Lens and Anterior Eye, 42(3), 258-264. https://doi.org/10.1016/j.clae.2019.02.008

Health manpower survey. (2021). Department of Health, The Government of Hong Kong Special Administrative Region. https://www.dh.gov.hk/english/statistics/statistics_hms/statistics_hms_find.html#2021

Healthcare workforce statistics. (2022). Ministry of Health Singapore. https://www.healthhub.sg/a-z/health-statistics/health-manpower

Ho, C. (2023, August 21-22). Optometry challenges in Asia [Conference presentation]. Thailand International Optometry Conference 2023 (TIOC 2023).

Myers, K. J. (2014). The optometry surplus-A quantitative determination of excess densities. American Board of Certification in Medical Optometry. https://abcmo.org/growing-optometry-surpluses/

Naidoo, K. S., Govender-Poonsamy, P., Morjaria, P., Block, S., Chan, V. F., Yong, A. C., & Bilotto, L. (2023). Global mapping of optometry workforce. African Vision Eye Health, 82(1), Article a850. https://doi.org/10.4102/aveh.v82i1.850

The College of Optometrists. (2015). Optical workforce survey (OWS 2015). Author.

World Health Organization. (2012). Situation analysis of vision 2020 in the WHO South-East Asia region. WHO-SEARO.

World Health Organization. (2013). Universal eye health: A global action plan 2014-2019. Author.

World Health Organization. (2022). Report of the 2030 targets on effective coverage of eye care. Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-10

How to Cite

พึงพิพัฒน์ ว., มงคลศิริวัฒนา จ., ศิริฐานนท์ น., หวงพลานันท์ เ., ตันเกิดมงคล ด., & ศุนาลัย ส. (2025). การจัดการอัตรากำลังผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรศาสตร์ในประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาวิชาชีพตามแนวนโยบายขององค์การอนามัยโลก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 39(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/277807