“กินส้มชมเล” : การสร้างอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแสงวิมาน

ผู้แต่ง

  • ศิโรนี โต๊ะสัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กินส้มชมเล อัตลักษณ์ทรัพยากร อัตลักษณ์ชุมชน อัตลักษณ์การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการอธิบายถึงการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดการ “กินส้มชมเล” เป็นการท่องเที่ยวที่ไม่ได้มุ่งตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการนำอัตลักษณ์เฉพาะที่มีอยู่ในชุมชน โดยเฉพาะอัตลักษณ์ของทรัพยากรนำมาสร้างเป็นอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนและไม่ทำลายทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ดั้งเดิม รวมถึงมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวด้วยตนเอง เพื่อให้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริมที่เข้ามาสนับสนุนอาชีพหลัก อีกทั้งบทความนี้ต้องการนำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นได้เห็นความสำคัญและนำแนวคิดดังกล่าวไปบูรณาการร่วมกับการขับเคลื่อนแผนชุมชน ในการยกระดับสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ ในฐานะที่ชุมชนมีศักยภาพในด้านการจัดการ “ทรัพยากร” ที่มีการคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน และนำมาสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวที่มีหลากหลายรูปแบบได้อย่างน่าสนใจ

References

ครองขวัญ ปานปน. (2563). ระบบนิเวศในน้ำ, 4 เมษายน 2563.
https://sites.google.com/site/sciencekrongkwan/content01/content0111

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษา บ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอ
เมืองแพร่ จังหวัดแพร่. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พจนา สวนศรี. (2554). การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับความเป็นวิชาการ. ใน CBT
มีมิติ พื้นที่ทางสังคมของชุมชนในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว สร้างการเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ภูมิหลังส้มโอทับทิมสยาม. (2563). [เอกสารอัดสำเนา]. ศูนย์เรียนรู้ส้มโอทับทิมสยามบ้านแสงวิมาน: นครศรีธรรมราช.

ศศิชา หมดมลทิล. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน [แผ่นพับ].

หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจฐานราก ส่วนเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.

ศิโรนี โต๊ะสันและคณะ. (2552). การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมเกษตรกรรมของชุมชนมุสลิมกรณีศึกษา:
ชุมชนบ้านแสงวิมาน จังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานการวิจัย), คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี.

สภาพทั่วไปของลุ่มน้ำปากพนังและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา. (ม.ป.ป.). [เอกสารอัดสำเนา].

สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 72-87.

อุทิศ สังขรัตน์และธเนศ ทวีบุรุษ. (2558). การจัดการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้. (รายงานการวิจัย), คณะศิลปศาสตร์ละคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

The World Tourism Organization (1997. อ้างถึงใน กฤช เตชะประเสริฐ. (2556). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ที่อาศัยในเขตจังหวัดขอนแก่น. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

Tourism of World. (2554). รูปแบบการท่องเที่ยว, 1 เมษายน 2563. https://tourismatbuu.wordpress.com

สัมภาษณ์
สุคนธ์ศักดิ์ มัสแหละ. (4 มีนาคม 2563). สัมภาษณ์.
สุชาติ แสงวิมาน. (4 มีนาคม 2563). สัมภาษณ์.
อาณัติ แสงวิมาน. (4 มีนาคม 2563). สัมภาษณ์.
อิมรอน แสงวิมาน. (3 มีนาคม 2563). สัมภาษณ์.

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12