รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วม เพื่อการพึ่งตนเองของบ้านน้อยบุตาวงษ์ ตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา ยางนอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เขมิกา อารมณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม, การพึ่งตนเอง, บ้านน้อยบุตาวงษ์ , จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม (Common-Pool Resources) สู่การพึ่งตนเองของชุมชนบ้านน้อยบุตาวงษ์ ตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์                 2. เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมสู่การพึ่งตนเองของชุมชนบ้านน้อยบุตาวงษ์ ตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research: CBR) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การเดินสำรวจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีร่วมกับชุมชน ผลการศึกษา พบว่า องค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมชุมชนบ้านน้อยบุตาวงษ์ ได้แก่ 1. องค์ความรู้บุคคลต้นแบบที่ทำเกษตรผสมผสานเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลที่สนใจได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาตนเอง จำนวน 6 คน ได้แก่ นายสมศักดิ์ สารรัมย์ นายบุตรศรี เภสัชชา นางสาวสุชัญญา จิตชาตรี นางโสภา ใยอิ่ม               นายสง่า  สุขทวี นางวิเพ็ญพักตร์ สดรัมย์ และองค์ความรู้การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมที่ผ่านมา คือ สระหนองนอกที่เป็นทรัพยากรร่วมของชุมชนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จนได้นำไปสู่การพัฒนาสระหนองนอกให้กลายเป็นแปลงเกษตรของชุมชน โดยมีการวางระบบน้ำ การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกของชุมชน จนเกิดการพึ่งตนเองทั้งด้าน 5 ประการ 1. ด้านเทคโนโลยี (Technology)  2. ด้านเศรษฐกิจ (Economic) 3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Resource) 4. ด้านจิตใจ (Mental) 5. ด้านสังคมวัฒนธรรม (Social) พร้อมทั้งตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนแก้ไขปัญหาบนฐานทรัพยากรของชุมชน  

     

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2563). การวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) กับความเหลื่อมล้ำในสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

จุมพล หนิมพาณิช. (2562). การเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมือง : ทางออกของการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ชล บุนนาค. (2554). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม:ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2553). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. (2550). คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. โครงการรวมพลังพลิกฟื้นผืนดินเกษตรไทย.มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน. กรุงเทพฯ : หจก.กร ครีเอชั่น.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. (พิมพ์ครั้งที 7). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2560). ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 54 (2) ; 2-6.

พรรณิภา บูรพาชีพ เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล (บรรณาธิการ). (2555). สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. 2550. ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้ : แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ. (2547). รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน. นนทบุรี : คณะกรรมการจัดงานมหกรรมการเกษตร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.256 0-2579). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2551). ทุนทางสังคม (กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม).โครงการส่งเสริมการสร้างตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

วรรณดี สุทธินธากร. 2560. การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2556). เกษตรกรรมยั่งยืนวิถีการเกษตรเพื่ออนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.

วีณา เที่ยงธรรม และคณะ. (2554). การพัฒนาศักยภาพชุมชน : แนวคิด และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2563). การเสริมพลังชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สภานโยบายการวิจัยและนวัตกรรม. (2560). ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). การบริหารจัดการเครือข่ายภาคสาธารณะ. ขอนแก่น : ขอนแก่น.

สุริชัย หวันแก้ว. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงษ์พิศ. (2551). แนวคิดแนวปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา.

อคิน รพีพัฒน์ และคณะ. (2544). คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คลังนานาวิทยา.

อุทิศ ทาหอม. (2564). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 16 (2) ; 55-72.

อุทิศ ทาหอม. (2565). การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่กับการพัฒนาสังคมตามหลักการ BCG. วารสารพัฒนศาสตร์. 5 (2) ;108-146.

อุทิศ ทาหอม. (2565). รากฐานและกระบวนทัศน์การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. บุรีรัมย์ : เอกสารโรเนียว.

อุทิศ ทาหอม สุจิตรา ยางนอก เขมิกา อารมณ์ และสันติภาพ ชารัมย์. (2565). การประยุกต์ใช้มิติทางวัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารไทยคดีศึกษา. 19 (2) ; 86-128.

Irwan, A. A., Adam, A., & Upe, A. (2021). Community Empowerment Strategy towards a Sustainable Rural Community-based Tourısm Village. Turkish Online Journal of Qualitative Inquiry (TOJQI). 12(5), 2065-2076.

Miller, C. (2008). Towards high standards in community development. Community Development Foundation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28