อภิปรัชญากับการค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระมหาสากล สุภรเมธี อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาประภาส แก้วเกตุพงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูวินัยธรธรรมรัตน์ เขมธโร อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

อภิปรัชญา, การค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอภิปรัชญา ซึ่งเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลก ผลจากการศึกษาพบว่า อภิปรัชญาเกิดจากความประหลาดใจและความสงสัยของมนุษย์โบราณที่มีต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์นี้เอง ทำให้มนุษย์ต้องสืบหาความเป็นจริงเหล่านั้น ซึ่งคำตอบที่ได้อาจถูกบ้าง ผิดบ้าง จนในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง เรียกว่าความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมาก แต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยมและธรรมชาตินิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างวิชาปรัชญา จำเป็นต้องยึดโครงสร้างอภิปรัชญาเป็นหลักสำคัญส่วนประกอบของสิ่งทั้งหลายก็ดี โครงสร้างของเอกภพกายภาพก็ดี ไม่ใช่ปัญหาที่อภิปรัชญาจะพึงตอบเสียแล้ว แต่เป็นหน้าที่ของศาสตร์ทางประจักษ์ ได้แก่ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ศาสตร์เหล่านี้มีหลักการพิเศษ ไม่ใช้วิธีการคาดคะเนความจริงและการใช้เหตุผลตามวิธีตรรกศาสตร์ แต่ใช้วิธีทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่นักจักรวาลวิทยาชาวไอโอเนียสมัยก่อนวิทยาศาสตร์คิดกัน เช่น อะไรคือมูลกำเนิดหรือปฐมเหตุของเอกภพ ปัญหาเช่นนี้เป็นของอภิปรัชญา ไม่ใช่ของวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการจะใช้หาความรู้ในเรื่องนั้นได้

References

1.E.G. (1918). Spaulding in the New Rationalism. New york : Holty.
2.เดือน คำดี,ดร. (2534). ปัญหาปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
3.แสง จันทร์งาม, (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : กมลการพิมพ์.
4.ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, (2549). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
5.พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, อธิบายคำ “ปรัชญา” และ “อภิปรัชญา”, ในสมุดที่ระลึกวันรคาชบัณฑิตยสถาน, 31 มีนาคม 2486.
6.ฟื้น ดอกบัว, (2532). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
7.สุเมธ เมธาวิทยากูล,ผศ. (2534). ปรัชญาเบื้องต้น (Introduction to Philosophy). กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้า.
8.หลวงวิจิตรวาทการ. (2510). ศาสนาสากล. พระนคร : ลูก ส.ธรรมภักดี.
9.อดิศักดิ์ ทองบุญ, (2526). คู่มืออภิปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประยูรวงศ์ จำกัด.

Downloads