ปรัชญาหลังนวยุค : อะไร อย่างไร และทำไม

ผู้แต่ง

  • นาวิน พิชญวิศิษฏ์กุล นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญาหลังนวยุค, อะไร อย่างไร และทำไม

บทคัดย่อ

นัยยะแห่งอนิจจตาไม่ได้กินความเพียงแค่สิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น หากรวมถึงสรรพสิ่งบนบรรณพิภพต่างล้วนต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งสามัญนี้ สังคมมนุษย์ดูประหนึ่งว่า ไร้สิ้นซึ่งชีวิตและลมหายใจ แต่การที่มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ประเด็นต่าง ๆ แห่งชีวิตและสังคมก็เกิดขั้น ตั้งอยู่ และดับไฟ เสมือนเป็นวัฏจักรอันไม่เคยสิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ มนุษย์และสังคมก็ไม่ได้แตกต่างกันเลยในอันที่ต้องแปรเปลี่ยนไปตามกฎ และจำต้องมีความเอื้ออาศัยแบบแอบอิงพิงพึ่งพากันอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ พร้อมหลอมรวมเป็นกันและกันอย่างไม่มีวันสะบั้นขาด มีแต่จะแนบแน่นและพันธุ์ผูกส่งผลกระทบถึงกันและกันตลอดเวลา ระดับสติปัญญาแบบมนุษย์ ที่ไม่ใช่สติปัญญาแบบวัตถุ พืช และสัตว์ บ่งบอกว่า มนุษย์เป็นผู้มีระดับสติปัญญาเป็นเลิศเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้คงไว้และผู้ทำลาย การกระทำของมนุษย์ย่อมมีผลกระทบต่อสังคมเสมอ และเมื่อสังคมแปรเปลี่ยนด้วยน้ำมือมนุษย์ นั่นก็ย่อมส่งผลถึงตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกนามอยางหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

References

1.กีรติ บุญเจือ, ศ., (2546) ปรัชญาหลังนวยุค: แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ดวงกมล (2520)
2.ปรัชญาหลังนวยุค สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561, จาก https://th.wikibooks.org/wiki
3.เมธา หริมเทพาธิป., ดร. (2017) แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาหลังนวยุค (Postmodern Philosophy) สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.gotoknow.org/posts/629871
4.สมเกียรติ ตั้งนโน (2544) แนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/postmodern_theory/index.html

Downloads