วิธีการและรูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ

ผู้แต่ง

  • ดร.สำราญ โคตรสมบัติ Ph,D (Buddhits Studies) อาจารย์ประจำหลักสูตรคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิธีการและรูปแบบ, โรงเรียนวิถีพุทธ.

บทคัดย่อ

การจัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูลต่องานการส่งเสริมจริยธรรมนั้น ผู้บริหารโรงเรียนต้องกำหนดขอบข่ายให้ครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งปวงในโรงเรียน ได้แก่อาคารสถานที่บริเวณโรงเรียนวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนกระบวนการเรียนการสอน และการประพฤติปฏิบัติของบุคลากรทุกฝ่ายทุกคนในโรงเรียน เพราะทั้งหลายเหล่านี้ คือสภาพแวดล้อมของนักเรียนที่ต่างมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมจริยธรรมแก่นักเรียนได้ทั้งสิ้น ดังที่ จรูญ  จัวนาน กล่าวว่า “มนุษย์ตำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อม มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจึงมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ผลจากการปฏิบัติสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเขานั้นเอง ซึ่งสอดคล้องกับที่แผนพัฒนาจริยศึกษา ได้สรุปเป็นข้อสังเกตไว้ว่า ในการพัฒนาจริยศึกษาของเด็กวัยประถมศึกษา สภาพแวดล้อมที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กในวัยนี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัดอยู่ในบ้านและในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ พฤติกรรมของครู ผู้ปกครองและชุมชนที่เข้าไปสัมผัสกับตัวเด็ก จะเป็นองค์ประกอบที่หล่อหลอมให้เด็กแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจากเงื่อนไขที่ได้รับอันจะเป็นผลต่อการพัฒนาจริยศึกษาใน 2 ทิศทาง คือ ถ้าหากครู ผู้ปกครอง ตลอดจนสื่อมวลชน ได้เอาใจใส่ดูแลนักเรียน คอยควบคุมแนะนำให้นักเรียนมีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามอยู่เป็นประจำอย่างคงเส้นคงวา เด็กก็จะยึดถือและปฏิบัติตาม จนเป็นนิสัยติดตัวตลอดไปแม้จะมีวัยสูงขึ้นและในขณะเดียวกัน ถ้าหากครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวแบบอื่น ๆ ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมที่ตนแสดงออกอันจะเป็นผลต่อพฤติกรรมของตัวเด็กแล้วพฤติกรรมที่แสดงออกเหล่านั้นก็อาจจะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาได้ เช่น การแสดงกิริยาวาจาที่ก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งเด็กจะยึดถือเป็นตัวอย่าง และถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกได้ เพราะถือว่าผู้ใหญ่ทำได้เด็กก็น่าจะทำได้

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
3.กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
4.กำพล แสนบุญเรือง (2542). การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการจัดการศึกษาใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5.จักรพรรดิ วะทา, (2555). บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ต่อการจัดการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
6.จงรัก จันทวงศ์. (2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนห้วยยางวิทยา อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
7.จตุพันธ์ วรรณภักตร์. (2539). การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
8.ชัยยุทธ โยธามาตย์. (2539). การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
9.ชินรัตน์ สมสืบ. (2540). หลักและระบบการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์.
10.ชูศักดิ์ แสนปัญญา. (2540). “ครูประถมศึกษากับการใช้สื่อการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษา,”ประชาศึกษา. 47(4) : 9; พฤษภาคม.
11.ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2545). หลักสูตรและแบบเรียนการประถมศึกษา. ม.ท.ป., ม.ป.ป.
12.นพรัตน์ คงยืน . (2546). คลี่พระราชบัญญัติ... จัดการเรียนการสอน แบบมีส่วนร่วม. วิชาการ. 4(9) : 2; กันยายน.
13.ธนิตย์ วานิช. (2546). การปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
14.ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. (2548). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
15.นพดล นพเคราะห์, สิบตำรวจตรี. (2549). การศึกษาการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
16.บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
17.บุญเทศก์ บุษมงคล. (2544). ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มโรงเรียนหนองแคน สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาอําเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
18.ไพบูลย์ ศรีสุธรรม. (2549). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
19.ไพรัช เตชะรินทร์. (2539). หลักและระบบการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์.
20.ภาคภูมิ โภชนุกุล. (2541). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทของคณะกรรมการองค์การบริหาร ส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
21.ภัทรา เสงี่ยมศักดิ์. (2546). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์ : กรณีศึกษาเฉพาะที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง สุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
22.มัณฑนา เสมอจิตต์. (2549). ความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
23.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2540). หลักการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
24.ราชกิจจนุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่มที่ 72 ก.
25.รุ่ง แก้วแดง. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
26.วิวัฒน์ ผาวันดี. (2548). รวบรวมเทคนิคและวิธีการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม : เพื่อพัฒนา ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. เอกสารประกอบการสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1.
27.ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
28.สภาการศึกษาแห่งชาติ. (2554). มุมมองการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
29.สุรัฐ ศิลปะอนันต์. (2543). ความสำคัญของงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
30.สมพรมะโนรัตน์.(2549).การศึกษาความตระหนักในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
31.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2539). กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
32.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
33.สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
34.สิริพร แสนทวีสุข. (2549). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนชุมชนบ้านระเว สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ. โรงเรียนบ้านระเว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
35.สุกัน เทียนทอง. (2546). กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
36.สุทธิพงษ์ จันทะบุรม. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
37.อำนวย แสงสว่าง. (2540). การจัดทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
38.อำพล คำศรีวรรณ. (2551). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสังกัดนครเทศบาลลำปาง จังหวัดลำปาง. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
39.อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
40.ข้อมูลทางเวปไซค์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.vitheebuddha.com เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 )
41.ข้อมูลทางเวปไซค์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก https://th.wikipedia.org เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558
42.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2557). มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 13/2547 มติที่ 207 เรื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนวิถีพุทธ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : www.mahathera.org . เข้าถึงเมื่อ 28-10-58
43.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.). (2557). ความเป็นมาโรงเรียนวิถีพุทธ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : www.vitheebuddha.com . เข้าถึงเมื่อ 28-10-58
44.กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สู่เส้นทางโรงเรียนวิถีพุทธ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : www.moe.go.th . เข้าถึงเมื่อ 28-10-58
45.สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.). (2557). แนวทางดำเนินการ 29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : www.vitheebuddha.com . เข้าถึงเมื่อ 28-10-58
46.ข้อมูลทางเวปไซค์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/499330. ออน-ไลน์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลค้น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 )

Downloads