ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

ผู้แต่ง

  • พระบุญจันทร์ คุตฺตจิตฺโต

คำสำคัญ:

1.ศึกษาวิเคราะห์, 2.รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4, 3.คําสอนเรื่องกรรม, 4.พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

บทคัดย่อ

ในบทความเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ  ฐิตธมฺโม) ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4  2) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระ ธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)  3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4 โดยเน้นเรื่องกรรมของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตํารา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2560-กันยายน 2560 ข้อมูลที่ได้นํามาวิเคราะห์เนื้อหาและ วิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปอุปนัย  พบว่า 1) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปิฏฐาน 4 พบว่า เป็นแนวทางในการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานเป็นทางสายเอกที่องค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าตรัสสอนแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เพื่อ เป็นแนวทางในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นฐานที่ตั้งของสติ ในการระลึกถึงหนทางในการฝึกฝน ปฏิบัติเพื่อกําจัดอุปทวะกิเลสให้สิ้นไป คือ การตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เป็นหนทาง แห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทำให้มีอานิสงส์ มีพลังในการ เจริญสมาธิทำให้เกิดความสุขระดับโลกียสุข และระดับโลกุตตรธรรมจนถึงพระนิพพาน  2) รูปแบบการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4 โดยเน้นคำสอนเรื่องกรรมของพระธรรม สิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า รูปแบบการสอนกรรมฐานของท่านนั้นได้ปฏิบัติตามแนวสติปฏิฐาน 4 โดยยึดหลักตามพระไตรปิฎก คือ โพธิปิกขิยธรรม ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์ให้เป็นปัจจุบัน เป็นไปตามแนวทางสติปฏิฐาน 4 คือ ให้กำหนด กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งท่านมีหลักที่ใช้ในการ ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ 2 ประการ คือ สติกับสัมปชัญญะ คอยควบคุมหรือกำหนดจิต ให้จิตรู้หน้าที่การงานโดยถูกต้อง แล้วเหลืออยู่หนึ่งเดียว คือความไม่ประมาท เมื่อจิตไม่ประมาทแล้วย่อมดำเนินวิถีชีวิต ด้วยความถูกต้อง ในการปฏิบัติกรรมฐานทานให้ผู้เข้าปฏิบัติได้เพ่งพิจารณาไปที่ท้องแล้วกล่าวตาม การหายใจเข้า ออก คือ ยุบหนอ พองหนอ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดอัมพวัน ในขณะที่สอน กรรมฐานท่านจะบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่อง กฎแห่งกรรม รวมทั้งอานิสงส์ของการสวดมนต์บทพาหุงมหากา ซึ่งเป็นเครื่องเจริญสติอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมสวดกันอย่างแพร่หลาย 3) วิเคราะห์คุณค่าการสอนกรรมฐานตามแนวสติปฏิฐาน 4 โดยเน้นคําสอนเรื่องกรรมของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พบว่า มีคุณค่าด้านการเผยแผ่หลักธรรมและคําสอน คุณค่า ด้านบุคลิกลักษณะ และคุณค่าด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี นับได้ว่าคุณค่าทุกด้านของท่านมี คุณค่าอย่างยิ่ง ท่านจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีผู้ศรัทธาเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั่ว ทุกประเทศในการปฏิบัติกรรมฐานนั้นมีคุณค่า และประโยชน์มากมายเท่าที่รู้จากประสบการณ์ของ หลวงพ่อและจากการสอบอารมณ์ของผู้ที่มาปฏิบัติกรรมฐาน พอสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้ 1) ระลึก ชาติได้ 2) เห็นกฎแห่งกรรม และ 3) เกิดปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิตได้

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
.พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ), วิปัสสนากรรมฐาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542), หน้า 2.
.วศิน อินทสระ, หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพมหานคร : มหามงกุฏราชวิทยาลัย, 2540), หน้า 14.
.พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม), กฎแห่งกรรมธรรมปฏิบัติ, เล่ม 10, (กรุงเทพมหานคร : หอรัตนชัยการพิมพ์, 2539), หน้า 264.
2) สารนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/รายงานการวิจัย
.พระครูศรีปริยัติวิกรม (วัชรพงษ์ ทินฺนาโภ), “ศึกษาเทคนิคและรูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมของพระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี”, วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), 2546, หน้า 180.
.พรรณราย รัตนไพทูรย์, “ศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ศึกษาแนวการสอนของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ)”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), 2544, บทคัดย่อ.
.วัชรา ทองมอญ, “การศึกษาการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษาเพื่อลดความเครียดของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโครงการของโรงพยาบาลบำราศนาดูร์”, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล), 2541, หน้า 52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-14