วิถีทางสายกลาง เพื่อความอยู่ร่วมกันของสังคมและลดการเบียดเบียนธรรมชาติแบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • ธเนศ เกษศิลป์

คำสำคัญ:

1.ทางสายกลาง, 2.พระพุทธศาสนา, 3.มรรคมีองค์ 8

บทคัดย่อ

วิถีทางสายกลางเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและลดการเบียนธรรมชาติชาตินั้น เป็นการดำเนินอยู่บนวิถีความพอเพียงของทุกสิ่ง คือ ความพอดีไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป ทางสายกลางจึงมิใช่เป็นประโยชน์เฉพาะบุคลที่จะพ้นทุกเท่านั้น แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดระบบการเมืองอันเป็นประโยชน์อันเป็นผลของมหาชนทั้งสังคมที่จะปลดทุกข์แก่สมาชิกร่วมกันได้ แม้ว่าสมาชิกในสังคมจะไม่สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้หมด แต่ในทางโลกิยะก็ย่อมสามารถช่วยให้ผู้คนจำนวนมากในสังคมเข้าใกล้ความอยู่ดีกินดีและมีความสุขโดยทั่วถึงกันยิ่งขึ้น บทความนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญๆ ของทฤษฎีหรือหลักการทางสายกลาง เพื่อเป็นประโยชน์ในการเป็นกรอบคิดประกอบการวางรากฐานกระบวนทัศน์ใหม่ (New paradigm) ทางการเมืองเสริมสร้างความพอเพียงในอนาคต เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้นำตามที่ควรเป็น “อริยชน” โดยนำหลักปรัชญาคำสอนของศาสนาพุทธมาใช้ในการอธิบายถึงความรู้สึกนึกคิด ซึ่งศาสนาพุทธนั้นได้เน้นที่ใจเป็นสำคัญ เพราะการกระทำต่าง ๆ ล้วนเป็นเครื่องที่แสดงออกมาจากจิตใจทั้งนั้น การที่บุคคลจะหยุดการกระทำที่ไม่ดีนั้นจะต้องเริ่มที่ตนเองก่อน จะต้องกำจัดบรรเทาความโลภ ความโกรธ ความหลง ความลำเอียง ที่มีให้หมดจากจิตใจก่อน เมื่อมีการปฏิบัติตามหลักเหล่านี้ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวหรือแบบบูรณาการได้ เพราะการกระทำที่ดีนั้นจะเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามในสังคมมนุษย์ เป็นอารยธรรมแห่งการศึกษาเรียนรู้และมีการพัฒนาต่อยอดนำไปใช้ในการรักษามนุษย์และธรรมชาติต่อไปในอนาคต

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คู่มือช่วยโลกร้อน, พิมพ์ครั้งที่ 2,
(กรุงเทพมหานคร :กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2554), หน้า 7-13.
โชคชัย สุทธาเวศ, “อริยรัฐ : สารัตถะและวิถีทางสายกลางแห่งรัฐ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในชาติ และแสวงหากระบวนทัศน์ใหม่การเมืองไทย”, รัฐสภาสาร ปีที่ 60 ฉบับที่ 11 (เดือน พฤศจิกายน 2555) : 9 – 46.
แปลไทยราชบัณฑิตยสถาน “ทางสายกลาง”, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2560 จากhttp://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute.
พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎกที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2560 จาก http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd20.htm ()
พระไตรปิฎก เล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 13 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2560 จาก http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd21.htm.
พุทธทาสภิกขุ. (2540). ทาน ศึล ภาวนา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพสุขภาพใจ.
แม่ชีราตรี สมพินิจ.(2550).การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาท สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ,วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2558 (มกราคม-เมษายน), หน้า 123-144
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2560 จาก https://th.wikipedia.org/wiki.
Ebusiness [นามแฝง],แสดงความคิดเห็นเรื่อง “ทางสายกลางคืออะไร” แสดงความคิดเห็นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2560 จาก http://2g.pantip.com/cafe/religious/topic/ Y13039156/Y13039156.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-14