รูปแบบการศึกษาพระพุทธศาสนา: ประโยชน์ต่อคนวัยทำงาน
คำสำคัญ:
1.รูปแบบการศึกษาพระพุทธศาสนา, 2.หลักไตรสิกขา, 3.วัยทำงานบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอรูปแบบการศึกษาพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานเนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ของทั้งครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ การที่ต้องออกไปเผชิญปัญหามากมายในการทำงาน ในการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม การใช้ชีวิตในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ไร้พรหมแดนที่มีการแข่งขันสูง ทำให้คนกลุ่มวัยทำงานมีภาวะเครียดสูง ดังนั้นการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมตามหลักไตรสิกขาที่จะช่วยทำให้คนวัยทำงานได้ศึกษาปฏิบัติตามจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หลักศีล ช่วยปรับพฤติกรรมและสร้างวินัยในการดำเนินชีวิตที่ดีงามสำหรับตนและสังคม หลักสมาธิ ช่วยด้านการพัฒนาจิตใจที่มีคุณภาพ มีสมรรถภาพ มีจิตใจที่ตั้งมั่นเข้มแข็งและสงบสุข และปัญญาที่มีความรู้ที่ถูกต้องมีศักยภาพในการคิด การแก้ปัญหาที่เหมาะสม ดังนั้นการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยหลักไตรสิกขาจึงมีความสำคัญอย่างมากกับกลุ่มคนวัยทำงาน เพราะจะเป็นกลไกที่ช่วยควบคุมจริยธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มวัยทำงานนี้ให้มีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ดีงามและสามารถชี้นำสังคม ชี้นำเยาวชนให้มีแนวทางปฏิบัติที่ดีงามสอดคล้องกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ดีงามของสังคมไทย
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.(พิมพ์ครั้งที่ 19).
กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย.
Buddhadasa Bhikkhu. (2010). Areligiousview. BKK: Thammasapa
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์