ความพึงพอใจที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ศรีบรรเทา

คำสำคัญ:

1.ความพึงพอใจ, 2.ครูพระสอนศีลธรรม, 3.นักเรียน, 4.มัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่หาได้ด้วยวิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเกรจซี่และมอร์แกน ) ได้จำนวน ๒๑๗ คน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  ด้วยวิธีการจับสลาก ใช้สถิติบรรยายคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานคือ การทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว  หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่  แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า ๑. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร มีความพึงพอใจต่อครูพระสอนศีลธรรม โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๘๘ ๒. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดราชาธิวาส ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อครูพระสอนศีลธรรมไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนของครอบครัวต่างกัน มีความพึงพอใจต่อครูพระสอนศีลธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

References

จรัส กาอินทร์. “ปัญหาการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, ๒๕๔๐.
ธรรมรัตน์ อริยธมฺโม, พระมหา. “เอกสารประกอบสอนวิชาหลักการเผยแผ่และวาทศิลป์”. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช, ๒๕๔๗, (อัดสำเนา).
ปัญญา จอมนาสวน, พระมหา. “ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียนเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของครูพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาจริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนในโครงการจริยศึกษา ศูนย์เผยแผ่ธรรม จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๕๐.
ปันนัดดา นพพนาวัน. “การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ธรรมะของสถาบันสงฆ์ไทยวิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
วิชิต วงศ์สายตา. “สมรรถภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระธรรมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๔.
สายันต์ นามเมือง, พระมหา. “บทบาทของพระสงฆ์ในการสอนวิชาพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘.
สุรเชษฐ์ เจริญสุข. “เจตคติของผู้ปกครองต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดบ้านก้อง จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๙.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04