การพัฒนาสังคมด้วยหลักไตรสิกขา ของนักศึกษาชั้น ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ศรชัย ท้าวมิตร

คำสำคัญ:

1.ศีลพัฒนา, 2.จิตพัฒนา, 3.ปัญญาพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มุ่งศึกษาการพัฒนาสังคมด้วยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ว่าจะช่วยพัฒนาสังคมได้มากน้อยเดียงใด โดยมีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาสังคมของพระนักศึกษา  ๒)ศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ใช้สำหรับพัฒนาสังคมคือ ศีลพัฒนา จิตพัฒนา และปัญญาพัฒนา และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการพัฒนาสังคผลการวิจัยพบว่า 1.ศีลพัฒนา  คือการพัฒนาตนขั้นศีล ตั้งใจงดเว้นด้วยตนเอง (สัมปัตวิรัติ) สมาทาน คือการไปรับศีลจากพระภิกษุหรือสามเณรที่วัดใกล้บ้าน (สมาทานวิรัติ 2.จิตพัฒนา การฝึกอบรมจิตให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม, ให้มีความเข้มแข็งมั่นคง, เบิกบานสงบสุข, 3. ปัญญาพัฒนา การพัฒนาตนให้มีความรู้ในวิชาการต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมการพัฒนาตนให้มีความรู้ตามหลักของพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 วิธีคือ 1)จินตามยปัญญา การพัฒนาตนให้มีความรู้ด้วยการคาดคะเนหรืออนุมานตามหลักตรรกวิทยานิรนัย (deductive logic) และตรรกวิทยาอุปนัย (inductive logic) 2)สุตมยปัญญา การพัฒนาตนให้มีความรู้ด้วยการศึกษาเล่าเรียนตามที่รัฐบาลของแต่ละประเทศกำหนดให้เรียน 3)ภาวนามยปัญญา คือความรู้อันเกิดจากการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติจริง ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญวิปัสสนา อันเป็นการศึกษาภาคปฏิบัติชั้นสูงของพระพุทธศาสนา ภาวนามยปัญญา ใช้กำจัดกิเลสอย่างละเอียดที่เรียกว่า อนุสัยและสังโยชน์ ซึ่งเป็นตะกอนใจหรือสนิมใจของมนุษย์ทุกคน การพัฒนาสังคมด้วยศีล 5 โดยเน้นให้เห็นความจำเป็นและความสำคัญของศีลแต่ละข้อ เพราะศีลคือหลักประกันความรุนแรงและความปลอดภัยของสังคมเป็นกฎหมายใจ ใครก็ตามที่ได้รับการพัฒนาด้วยปัญญาอย่างถูกต้อง ย่อมจะรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามความเป็นจริง ทั้งในระดับโลกิยปัญญาและโลกุตตรปัญญา

References

ฐิตวัณโณ ภิกขุ. (2531). วิปัสสนาภาวนา, คณะศิษย์กรรมฐานจัดพิมพ์ถวาย พระศรีวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร ในวโรกาสได้รับพระราชทานเลื่อนมรณศักดิ์ที่ “ พระราชวิสุทธิกวี”, กรุงเทพ ฯ :ร.พ. สุทธิสารการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, แถลงการณ์ 50 ปี กิจการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์สุรวัฒน์, 2539
วิชิต วงศ์สายตา, การศึกษาสมรรถภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระธรรมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาบัณฑิตวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544
วิโรจน์ ธาระพุฒ , พระมหา, ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมด้านการพัฒนาจริยธรรมของพระธรรมวิทยากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาบัณฑิตวิทยานิพนธ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 2544
วิสุทธิมรรคแปล 3/ 1 ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2514
เสถียร วิพรมหาและคณะ, รายงานการวิจัยเรื่อง บทบาทของพระธรรมวิทยากรกับการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพมหานคร, สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, เอกสารอัดสำเนาเย็บเล่ม, 2543
E. Ahmad- Shah, Buddhism and Cristian Faith, India, Lucknow : The Lucknow Publishing Houses , 1997
K.M. Munshi and R.R. Diwakar, Bhagawan Buddha, India, Bombay : Associated Advertisers & Printers , 1967

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04