ศึกษาธาตุ 5 กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระโกษา อินฺทปญฺโญ (นิติศร)

คำสำคัญ:

1.ธาตุ 5, 2.การเจริญวิปัสสนาภาวนา, 3.สติปัฏฐาน 4, 4.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาธาตุ 5 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักการเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาธาตุ 5 กับการเจริญวิปัสสนา-ภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า ธาตุ ในทางพระพุทธศาสนา คือ สภาวะที่ทรงลักษณะเฉพาะ หรือสิ่งที่เป็นมูลเดิมของตนเองไว้ เช่น ธาตุดิน เป็นรูปธาตุซึ่งมีความแข็งเป็นลักษณะ มีการรองรับรูปทั้งหลายเป็นกิจ มีการรับไว้ซึ่งรูปธาตุทั้งปวงเป็นผล มีมหาภูตรูป และวิสยรูปที่เหลือเป็นเหตุใกล้ ล้วนเป็นเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัยเดิมของธรรมชาติ ธาตุ 5 มีองค์ประกอบ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ และ อากาสธาตุ การปฏิบัติวิปัสสนาต้องมีธาตุประกอบ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จึงจะทำให้เกิดความสมบูรณ์แห่งการพิจารณาวิปัสสนาญาณได้สำเร็จ ดังนั้นความเข้าใจในการเจริญธาตุจึงมีความสำคัญยิ่งในการเจริญ-วิปัสสนาภาวนาวิปัสสนายานิกที่เริ่มเจริญวิปัสสนาเป็นลำดับแรก โดยมิได้เจริญสมถภาวนาก่อนนั้นควรกำหนดรู้รูปนามมีธาตุ เป็นต้นก่อน แล้วอบรมให้เกิดวิปัสสนาขณิกสมาธิ ซึ่งมีอำนาจกำจัดนิวรณ์ได้ และเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังกล้าแข็งขึ้น ก็จะเกิดวิปัสสนาปัญญาที่รู้เห็นรูปนามชัดเจนโดยปราศจากสมมุติบัญญัติใด ๆ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
คณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระไตรปิฎกนิสสยะ. พระไตรปิฎกนิสสยะ (ฉบับพิเศษ) มหา-สติปัฏฐานสูตร. แปลโดยจำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2554.
พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2555). อานาปานสติภาวนา. กรุงเทพมหานคร: หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์,
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา สัมมนาวิปัสสนาภาวนา”. หลักสูตรพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนา ศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มจร., 2555.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ). (2553). วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์ พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
พระพุทธโฆสาจารย์. (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.
_________. คัมภีร์วิสุทธิมรรค.เล่ม 3. แปลโดย พระเมธีกิตโยดม (พิณ กิตฺติปาโล) และ ธนิต อยู่โพธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2541.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปริเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ. กรุงเทพมหานคร: หจก. ทิพยวิสุทธิ์, 2553.
วรรณสิทธิ ไวยทยะเสวี. พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04