หลักสูตรธรรมศึกษาในปัจจุบัน : กลไกส่งเสริมชาวพุทธ
คำสำคัญ:
1.ธรรมศึกษา, 2. พัฒนาการเรียนการสอน, 3. การส่งเสริมเผยแพร่พุทธศาสนาสืบไปบทคัดย่อ
กลไกการส่งเสริมชาวพุทธโดยผ่านหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ในการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมนั้นบุคลากรคนปัจจัยตัวแรกที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน ผู้บริหารสำนักศาสนศึกษาควรจะดำเนินการจัดให้มีความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ อาจารย์ใหญ่เป็นบุคลากรสำคัญของการจัดการเรียนการสอนในฐานะผู้ดำเนินการ ครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ สำหรับงบประมาณเงินปัจจัยตัวที่สองที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม เพื่อช่วยสนับสนุนให้การทำงานได้ ดำเนินไปอย่างราบรื่นประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ เป็นปัจจัยตัวที่สามที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ควรจะมีการใช้งานบำรุงรักษาหนังสือ ตำรา สื่อการเรียนการสอนที่ชำรุดเสียหายให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จได้ สำหรับการจัดการ เป็นปัจจัยตัวที่สี่เพื่อสนับสนุนต่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมและประหยัดทั้งด้านคน การเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและสำนักศาสนศึกษา การแก้ไขปรับปรุงวิธีการทำงาน ระบบการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วและแน่นอน เพื่อให้การทำงานของสำนักศาสนศึกษามีประสิทธิภาพ การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อเรียนรู้พระพุทธศาสนา พระภิกษุ สามเณรเป็นกำลังสำคัญสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง เป็นวิชาพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ
References
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2546) ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543).ทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.
จันทรานี สงวนนาม (2551) ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยด์
กระทรวงศึกษาธิการ (2546) คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พระมหาอภิลักษณ์ จักรแก้ว (2553) “การศึกษาสถานการบริหารวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาห่งชาติ กลุ่ม 1” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฌ).
กาญจนา เงารังสี, (2555), “รูปแบบการบริหารงานสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี” รายงานการวิจัย (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สัมภาษณ์
พระมหาธำรงค์ จิตปุญฺโญ ดร., อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, สัมภาษณ์, 29 กันยายน 2563.
ดร.ศรัณย์ มะกรุดอินทร์, อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, สัมภาษณ์, 29 กันยายน 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์