เด็กปัญญาเลิศ
คำสำคัญ:
เด็กปัญญาเลิศ, ด็กที่มีความสามารถพิเศษ, .เด็กอัจฉริยะบทคัดย่อ
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) เป็นเด็กพิเศษประเภทหนึ่งที่ไม่มีความพิการทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมรณ์ และสติปัญญา แต่มีลักษณะเบี่ยงเบนจากเกณฑ์ปกติ ที่มีลักษณะเรียนรู้ได้เร็ว และมักมีความคิดที่ซับซ้อนกว่าเด็กทั่วไป ดังนั่นจึงทำให้เด็กดังกล่าวต้องการการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กอื่น ๆ เด็กจะมีความพร้อมในการทำกิจกรรม เล่นเกมส์ หรือการอ่านหนังสือได้อย่างรวดเร็วมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นการจัดเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีปัญญาเลิศจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อตัวเด็กมาก การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศ นั้น ครูผู้สอนต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และจัดหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จูงใจส่งเสริมความเป็นอัจฉริยะอย่างเหมาะสม มีเนื้อหาที่ยาก และท้าทายกว่าหลักสูตรสำหรับเด็กทั่วไป มีการเชื่อมโยงและบูรณาการในหลายวิชา จัดกระบวนการเรียนรู้ที่สลับซับซ้อนลึกซึ้งกว่าหลักสูตรปกติ จัดกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ ควรฝึกให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ให้มีความรับผิดชอบในการแสวงหาความรู้ เน้นการพัฒนาสมองทุกส่วน และเน้นพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรม อาจกล่าวได้ว่า เด็กปัญญาเลิศต้องได้รับการพัฒนาที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ต้องมีหลักสูตรเฉพาะ ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมให้ยั่วยุ ท้าทายความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพอย่างเต็มความสามรถ และศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม มีความฉลาดทางอารมณ์ มีความสามรถทางปัญญา เพื่อให้เป็น คนเก่ง คนดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
References
คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา. 2562. การศึกษาพิเศษสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อารี สัณหฉวี. 2540. รูปแบบการเรียนการสอนเด็กปัญญาเลิศ. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
อุษณีย์ โพธิสุข. 2537. วิธีสอนเด็กปัญญาเลิศ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. 2544. รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มี
ความสามารถพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: รัตนพรชัย.
Benjamin, Bloom S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company
Clark, Robert. (1992). Human Resources Management: Framework and Practice 2nd ed. Sydney: McGraw-Hill.
Renzulli, J.S. (1977). The Renzulli Enrichment Triad Model. A Guide for Devel0ping Defensible Programs for The Gifted and Talented. Wethessfield, Connecticut: Creativity Learning.
Renzulli, J.S., Reis, S.M., and Smith L.H. (1981). The Revolving Door Identification Model. Mansfield Creative Learning Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์