การบริหารจัดการงานสภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศศิชา นิยมสันติ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

คำสำคัญ:

สภาวัฒนธรรม, การบริหารจัดการ, เครือข่ายวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบในการบริหารจัดการงานสภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานสภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกจาก บุคลากร เจ้าหน้าที่ ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้ดำเนินการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมทั้งข้อบังคับสภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พ.ศ. 2556 เป็นแนวทางการบริหารจัดการ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยจัดให้มีข้อบังคับสภาวัฒนธรรมของตนเอง การบริหารจัดการของสภาวัฒนธรรมเขต และดำเนินการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานสภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร  ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ ปัญหาด้านการทำงานไม่เป็นทีม และปัญหาเรื่องความร่วมมือระหว่างสภาวัฒนธรรม ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการงานสภาวัฒนธรรมเขต ควรให้อิสระในการบริหารจัดการ โดยการแก้ไขข้อบังตับให้สภาวัฒนธรรมเขตมีอิสระในการบริหารจัดการ โดยไม่ต้องขึ้นกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เพื่อที่จะทำให้สภาวัฒนธรรมเขต สามารถเข้มเข็ง ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมอีกต่อไป เพราะถ้ายังอยู่ภายใต้ก็จะทำให้สภาวัฒนธรรมคิดว่าต้องพึ่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรมตลอด ทั้งในเรื่อง งบประมาณ บุคลากร ทรัพยากร

References

กมล อดุลพันธ์. (2545). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2556). ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร (ประกาศลงวันที่ 22 มีนาคม 2556).

กาญจนา แก้วเทพ และคณ(2557). การบริหารจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรมการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

ชลิดา ศรมณี (2557). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6101 ขอบข่ายและแนวคิด เชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

นิภา เจียมโฆสิต และคณะ (2551). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ประเพณีบุญกลางบ้านอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร. (2560). ข้อมูลหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2561 จาก http://www.bmccculture.com/council.php?action=data

สิทธิพันธ์ พุทธหุน (2557). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6104 เศรษฐกิจ การเมือง และการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

สุพิณ เกชาคุปต์. (2557) เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6101 ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร (2551). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม : กรณีศึกษาประเพณีทอดผ้าป่าแถว ชุมชนเพชรชูทรัพย์ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

Drucker, P. F. (1999). Management Challenges for the 21st Century. New York : Harper Business.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-10