การพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง
  • สาธร ทรัพย์รวงทอง

คำสำคัญ:

องค์กรสมรรถนะสูง, สถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาองค์ประกอบ 2.สร้างรูปแบบ และ 3.ประเมินรูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ เก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน การสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้สอน จำนวน 340 คน การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ร่างรูปแบบ และ แบบประเมิน ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เสริมสร้างสมรรถนะผู้บริหารสู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอล 2) มุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) การปรับปรุงคุณภาพทั้งองค์กรมุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ผู้เกี่ยวข้อง 5) การจัดการกระบวนการและทรัพยากร 6) การพัฒนาผลการปฏิบัติงานสร้างนวัตกรรม
  2. รูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 3 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 4 กระบวนการของรูปแบบ และ ส่วนที่ 5 การประเมินผล
  3. การประเมินรูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

References

กลุ่มพัฒนาระบบบริหารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551).
คู่มือคำ อธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐปีงบประมาณพ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ :ผู้แต่ง
ธีระพล เพ็งจันทร์. (2552). การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549). Competency Based Approach. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่บริษัท กราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.
นิสดารก์ เวชยานนท์, (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.
ปองภัทร อินทรัมพรรย์. (2551). การพัฒนามาตรวัดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ สุวรรณกุล. (2553). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนสมรรถนะสูงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พสุ เดชะรินทร์ และคณะ. (2549). การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ : บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย
จำกัด.
วรพิชญย์ ลิขิตายน. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีให้
เป็นองค์กรสมรรถนะสูง. 12(1) หน้า 179-189.
ศักดิ์ดา สถาพรวจนา. (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี. 2(2) หน้า 76-85.
สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2557). การวิจัยการศึกษา Education research.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์
สาธร ทรัพยรวงทอง และ วราภรณ ทรัพยรวงทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(5) หน้า 1764-1776.
Bush, T. (1996). Theories of educational management. London : Harper & Row.
Hoy, W.K., and Miskel, c.G. (2011). Educational administration theory, research, and practice. (8th ed.)
New York : MacGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23