แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, ความยั่งยืนของการท่องเที่ยว, แนวทางการจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์ปัจจุบัน แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยวของอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยสรุปความสำคัญ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคคลในชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในอำเภอบางสะพาน จำนวน 388 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลมาจำแนกระดับความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันของของประชาชน ในอำเภอบางสะพาน ภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” (= 3.68, S.D. = 0.94) ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของอำเภอบางสะพาน ภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง =3.59 – =3.97 2) แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว ได้แก่ การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน และค้นพบ 8 แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืน ที่ประกอบไปด้วย 1) ชุมชนควรปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้กับคนรุ่นใหม่ 2) ควรสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ 3) การเป็นเจ้าบ้านที่ดีของคนในพื้นที่ 4) มุ่งสร้างประโยชนร่วมกัน 5) สร้างความเข้าใจร่วมกัน ให้กับชุมชน 6) ภาครัฐและภาคประชาชนควรมีการบูรณาการร่วมกัน 7) ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์เชิงรุก 8) การสร้างตราสัญลักษณ์ให้กับท้องถิ่น
References
กฤษณ์ โคตรสมบัติ. (2553). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในเขตแก่งสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
จันทร์จิรา สุขบรรจง และสมยศ วัฒนากมลชัย. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, สมาคมนักวิชาการการท่องเที่ยว (ประเทศไทย), 14(2).
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2556). รายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนในตลาดร้อยปีสามชุกอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี, กองทุนส่งเสริมการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2556.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). รายงานการศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. นนทบุรี : มูลนิธิเอเชีย สถาบันพระปกเกล้า.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). รายงานการวิจัย. วาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาและจัดการ การท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ปี 2552. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว.
ธงชัย เพชรสกุลทอง, สัมภาษณ์, 18 มีนาคม 2563
บุญชม ศรีสะอาด. (2545) การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : เพรส แอนด์ ดีไซน์
ประกอบ คงทัพ, สัมภาษณ์, 21 มีนาคม 2563.
พระครูถิรธรรมดำรง (เสถียร สิริธโร) เจ้าคณะตำบลชัยเกษม, สัมภาษณ์, 21 มีนาคม 2563
พัทธรัตน์ แสงมณีวรรณ. (2554) การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2561). ระบบสถิติทางทะเบียน: จำนวนประชากรอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. 17 ตุลาคม 2562
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best & Kahn. (2010) Research in Education. (7th ed.). Boston.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kasemsup, J.(2009) Environmental preservation for Sustainable tourism. Environment Journal. 13(3), 34-42.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Shirley Eber. (1923). My travels around the world. Newton Aycliffe, UK : Heinemann. Swarbrooke, J. (1998). Sustainable Tourism Management. Wallingford, Oxon : CABI Publishing UN.
Zurab Pololikashvili, (2018) International tourist numbers up 6% to 1.4 billion in 2018:
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์