ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มจักสานผักตบชวา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นิตยา วงศ์ยศ

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์, กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวาในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  3) เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนทั่วไปที่ซื้อผลิตภัณฑ์ผักตบชวาในเขตอำเภอเมืองพะเยา จำนวน 380 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test  และค่า F-test หรือหรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มธุรกิจหัตกรรมจักสานผักตบชวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบชวาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อใช้เอง จำนวนเงินที่ซื้อในแต่ละครั้ง 300-500 บาท โดยส่วนใหญ่ซื้อกระเป๋า ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตกรรมจักสานผักตบในเขต อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์ต่อวัตถุประสงค์ในการซื้อในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.213  ปัจจัยด้านราคามีความสัมพันธ์ต่อจำนวนเงินที่ซื้อในแต่ละครั้งมีผลในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.265  และปัจจัยด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับประเภทของสินค้า มีผลในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.212

References

ธนพร กิติพงศ์พิทยา. (2551) .ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มจักสานผักตบชวา กรณีศึกษา บ้านห้วยเคียน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
นันทิยา ตันตราสืบ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมของ
ผู้บริโภคชาวไทยจากศูนย์หัตถกรรมภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2559). สถาบันพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย โครงการหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557, จากhttp://chiangrai.cdd.go.th/services/otop 2559-2557-2558
พัฒนาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2557). สถาบันพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย เศรษฐกิจ
แบบฐานราก. ค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557, จาก www.cdd.go.th/wp-content/.../sites/.../คู่มือการดำเนินงาน.docx
ปฐมรัตน์ ชิวปรีชา. (2549). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมของผู้บริโภคชาวต่างชาติ จากศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุภัสรา บุญเรือง. (2550) .การบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจจักสานผักตบชวา กรณีศึกษา บ้านสันป่าม่วงอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
สุวรรณา ทัศนาภิรมย์. (2546). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก. สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
Philip Kolter. (1984). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24