การปกครองระบอบประชาธิปไตยกับสถาบันทางการเมืองไทยในยุครัฐธรรมนูญ 2560
คำสำคัญ:
ประชาธิปไตย, สถาบันทางการเมือง, รัฐธรรมนูญบทคัดย่อ
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากการมีผู้ปกครองคนเดียว คือ พระมหากษัตริย์ หรือเรียกที่ว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎรได้ยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การเมืองการปกครองไทยจึงได้นำการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเรียกว่า รัฐธรรมนูญ และถือเป็นกฎหมายสูงสุด ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 คือ รัฐธรรมนูญ 2560 โดยบัญญัติให้มีสถาบันทางการเมืองประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ องค์กรรัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมายและตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ฝ่ายบริหาร ได้แก่ รัฐบาล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า รวมทั้งองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย และฝ่ายตุลาการ ได้แก่ องค์กรศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร ซี่งมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุมบังคับให้ทุกภาคส่วนของสังคมไทยปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และยังมีองค์กรอิสระ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คือ องค์กรอัยการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
References
กวี อิศริวรรณ. (2530). 20 ความคิดทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สยามบรรณ จำกัด.
จิรโชค (บรรพต) วีระสย และคณะ. (2547). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
จิรโชค (บรรพต) วีระสย และคณะ. (2557). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2552). รัฐ, กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เพรส จำกัด.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2557). รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2551). รัฐศาสตร์ : ทฤษฎี แนวความคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหายบล็อกและการพิมพ์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2551). ศาสตร์และศิลป์ การเมืองการบริหารไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหายบล็อกและการพิมพ์.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2555). การเมืองไทย ระบบที่ไม่มีสูตรสำเร็จรูปในการแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2564). รัฐศาสตร์ ทฤษฎี แนวคิด ปัญหาสำคัญ และแนวทางวิเคราะห์การเมือง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2556). รวมบทความวิชาการรัฐศาสตร์ ครบรอบ 31 ปี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2563). การเมืองไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์ จำกัด.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2548) วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทยา เชียงกูร. (2551). การปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขวิกฤติของชาติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือน ตุลา.
ศิริพร เชาวลิต. (2557). การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมเกียรติ วันทะนะ. (2551). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร : เอส.พ.วี. การพิมพ์ (2550).
สุรพล นิติไกรพจน์และคณะ. (2548). รวมกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโฟปริ้นติ้ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หนังสือรวมกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง (ม.ป.ป.).
อนุสรณ์ ลิ้มมณี. (2558). รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์