แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักสามัคคีธรรมของชุมชนบางลำพู แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • แม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • แม่ชีจำเรียง กำเหนิดโทน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศาสนาพุทธ, ศาสนาอิสลาม, 2. สามัคคีธรรม, ชุมชนบางลำพู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักสามัคคีธรรมในพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม ของชุมชนบางลำพู 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จจากแรงจูงใจในการนำหลักสามัคคีธรรมมาใช้ในสังคมของชุมชนบางลำพู 3) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้หลักสามัคคีธรรมในการสร้างความสำคัญและคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทยในปัจจุบันของชุมชนบางลำพู โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บขอมูลจากการสัมภาษณเชิงลึกจากชุมชนบางลำพู จำนวน 20 รูป/คน สรุปเอกสารวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินชีวิตตามหลักสามัคคีธรรมในพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามของชุมชนบางลำพู คือ การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนคือการนำหลักศีล พรหมวิหาร มาใช้ในการดำเนินชีวิต 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จจากแรงจูงใจในการนำหลักสามัคคีธรรมมาใช้ในสังคมของชุมชนบางลำพู คือ สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 คนไทยมุสลิมมีหลักปฏิบัติ 5 ศรัทธา 6 3) วิธีการประยุกต์หลักสามัคคีธรรมนำมาใช้ในการสร้างความสำคัญและคุณประโยชน์กับสังคมไทยในปัจจุบันของชุมชนบางลำพู ประชาชนบางลำพู พวกให้ความร่วมมือในการสร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชน โดยนำหลักสุจริต 3 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 ศีล 5 สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 ประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ความเจริญและความผาสุกให้แก่สังคมและชุมชน

References

กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในชุมชนตลาดบางลำพู. สัมภาษณ์. วันที่ 27 มิถุนายน 2560.

กิตติศักดิ์ พานเจริญชับโรจน์. (2544). ถนนข้าวสาร. สารนิพนธ์ปริญญาสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,

ขวัญจิรา ปานไธสงค์. (2559). บทความงานเสวนาเสน่ห์บางลำพู ธนารักษ์คู่ชุมชน.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และวิธาน สุชีวคุปต์. (2538). หลักการดำรงชีวิตในสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปราณี กล่ำส้ม. (2537). วันวานที่ย่านบางลำพู. เมืองโบราณ. 10(3).

พระครูนิกรสุนทรกิจ (สมพงษ์ นุ่มสกุล). (2553). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชัยณรงค์ วิทิโต (2555). การประยุกต์หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาชาญชัย เกษี. (2551). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องความสามัคคี. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ, รศ.ดร. วัดชนะสงคราม, สัมภาษณ์, วันที่ 28 มิถุนายน 2560.

พิเชฐ สายพันธ์. (2542). รายงานโครงการวิจัยชุมชนศึกษาเรื่องจินตภาพบางลำพู. กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฏกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2558). พื้นที่ย่านชานพระนครและคลองเมือง. บทความมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. 105(มกราคม-มีนาคม).

สมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

สมเด็จมหารัชมังคลาจารย์. (2558). ปุริมัตถีโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. กรุงเทพมหานคร : วัดปากน้ำ.

สัมฤทธิ์ ปิ่นมณีวรรณ. ประธานชุมชนบางลำพู. สัมภาษณ์. 27 มิถุนายน 2560.

เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-20