โลกธรรมกับความเข้าใจการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน
-
คำสำคัญ:
โลกธรรม, การดำเนินชีวิต, สังคมปัจจุบันบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ตามมุมมองทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาเกี่ยวกับโลกธรรมกับความเข้าใจการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ซึ่งพบว่า โลกธรรมเป็นมุมมองที่มีต่อการพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัวไปตามกระบวนการแห่งปัญญา อีกทั้งต้องมีศีลเป็นสิ่งควบคุมความประพฤติทั้งกาย วาจา อันจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้โดยไม่หวั่นไหว มีความสุขกายใจ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นต้องมีกรอบและแนวทางเป็นจุดยืนทางความคิด เพื่อจะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ดังนั้นโลกธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมเสมือนเครื่องมือที่สำคัญยิ่งที่จะส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้อีกประการหนึ่ง การศึกษาโลกธรรมเพื่อนำมาเป็นกรอบการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเป็นเสมือนกรอบของการดำเนินชีวิต เพราะไม่ว่าจะพบเจอสถานการณ์ใดก็ตาม โลกธรรมจะสอนให้คิดตามเหตุปัจจัย พิจารณาถึงแง่บวกและแง่ลบ ส่งผลให้เข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตไปในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุขและได้เกื้อกูลสังคมรอบตัวเราให้มีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงในสังคมทุกระดับเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน
References
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ สืบกระพันธ์). (2556). บูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์ ในการดำเนินชีวิต
ของคนไทยยุคปัจจุบัน. ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป อ. ปยุตตโต). (2550). ชีวิตที่สร้างสรรค์ สดใส และสุขสันต์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
พระวีระศักดิ์ วีรปุญโญ (อินทรวิเศษ). (2561). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
มนัสวี ศรีนนท์. (2562). ชีวิตวัยเกษียณ. สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://il.mahidol.ac.th/th/i-Learning-Clinic/general-articles/,2562 เข้าถึงข้อมูล8/7/2564.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 23. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2540). ปรัชญาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพ: อักษรเจริญทัศน์.
วศิน อินทรสระ. (2529). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เจริญกิจการพิมพ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2563). นวโกวาท (ฉบับประชาชน). กรุงเทพ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฐายี). (2546). มงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). ชีวิตที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลศัพท์). กรุงเทพ: สหธรรมมิก.
เอกก์ ภทรธนกุล. (2560). สหบรรณานุกรม. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารปรัชญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์