โอวาทปาฏิโมกข์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
โอวาทปาฏิโมกข์, การเผยแผ่พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
โอวาทปาฏิโมกข์คือหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอรหันตสาวก โดยสาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์นั้น เป็นนโยบายหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นการสร้างความเข้าใจ ความชัดเจนในหลักการและวิธีการให้แก่คนทั้งหลายและหลักการนั้นต้องดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความพ้นทุกข์ วัตถุประสงค์ในการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์สรุปได้ 5 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อแสดงถึงอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) เพื่อวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงด้วยการแสดงจุดยืนในการเผยแผ่อันเป็นทั้งอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการที่สำคัญของพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่สังคม 3) เพื่อเป็นการทบทวนในอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการที่สำคัญของพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกทั้ง 1,250 รูป ในการรับทราบและให้สามารถเข้าใจมากยิ่งขึ้นในการนำไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา 4) เพื่อประกาศยืนยันความเกิดขึ้นและมั่นคงของพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่สังคม โดยเฉพาะกับนักคิดทางศาสนาในสมัยนั้นให้ทราบโดยทั่วกัน และ 5) เพื่อแสดงธรรมแก่พระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูป ความสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์ มี 13 ประการ คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักการดังกล่าวในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสอดคล้องกับคำสอนสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ หลักไตรสิกขาที่คนทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาได้ คือ นิพพาน
References
กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่ม 4, 13, 17, 25. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กรมการศาสนา. (2540). กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระ ศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
คงชิต ชินสิญจน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์ (ประเวท ถาฐาน). (2560). กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(3), 211-223.
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ จตฺตาลโย). (2562). ประวัติและพัฒนาการพระพุทธศาสนา. นครปฐม : สาละพิมพการ.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2549). พุทธวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ 87.
พระพิพิธธรรมสุนทร (สุนทร ญาณสุนฺทโร). (2550). ลีลาชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
พระมหาวิสูตร ปภสฺสโร (ยุวศิลป์). (2560). บูรณาการหลักโอวาทปาฏิโมกข์สู่บรรทัดฐานทางสังคมไทย : ศึกษากรณีชุมชนบ้านศาลา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ). (2563). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์ : หลักการอุดมการณ์และวิธีการ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. (6)1, 359-367.
แม่ชีณัฐนาถ เจริญรุ่ง. (2549). การแก้ปัญหายาเสพติดตามหลักโอวาทปาฏิโมกข์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.
วศิน อินทสระ. (2539). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). โอวาทปาฏิโมกข์. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564, <https://th.wikipedia.org/wiki/โอวาทปาติโมกข์.
สนิท ศรีสำแดง. (2550). พระพุทธศาสนา : กระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2554). ธรรมดุษฎี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พิมพ์สวย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโ). (2550). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร. (2554). วิชาการเทศนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรทัย พนาราม. (2545). สื่อมวลชนกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์