การเข้าถึงสื่อออนไลน์ด้วยพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พระกมลรัตน์ อภิปุญฺโญ (ต่ายลีลาศ) อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
  • พระวิเชียร อธิปุญฺโญ (แสนศรี) อาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สื่อธรรมะ, สื่อออนไลน์, พุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสื่อออนไลน์ด้วยพุทธธรรม การศึกษาพบว่า การเข้าถึงสื่อออนไลน์ ประกอบด้วยสองส่วน คือ (1) การเข้าถึงสื่อออนไลน์ และ (2) ผลกระทบในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันการเข้าใช้งานสื่อออนไลน์มีหลากหลายจุดประสงค์ตามเป้าหมายของแต่ละบุคคล หลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาช่วยเป็นเครื่องมือในการดึงสติให้ผู้ใช้งานหยุดพิจารณาสื่อออนไลน์ก่อนนำมาใช้งาน ได้แก่ 1) อินทรียสังวร 2) สัมมาสติ และ 3) สัมมาสมาธิ ดังนั้น การเข้าถึงสื่อออนไลน์ด้วยหลักพุทธธรรมทั้ง 3 ประการนี้ สามารถสร้างการะบวนการให้มีสติหยุดพิจารณาสื่อนั้น แบ่งได้ 3 กระบวนการ คือ 1) สังวรก่อนเข้าถึง 2) มีสติระหว่างใช้ และ 3) ตั้งสมาธิหลังใช้ เพื่อให้การใช้สื่อออนไลน์เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อตนเอง ทั้งในขั้นต้นมีการรับสาร จนถึงการนำสื่อออนไลน์เหล่านั้นไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ประสบผลสำเร็จสูงสุดต่อไป

References

กรมศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่ม 9. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). Smart Social Media รู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

จันทร์ทิพย์ ชูศักดิ์พาณิชย์. (2560). พุทธวิธีการสื่อมรรคมีองค์ 8 สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดลินิวส์. (2564). อารยะบนโลกออนไลน์ : โลกโซเชียลทุกวันนี้ได้รุกล้ำความเป็นส่วนตัว ทั้งข่าวปลอม การถูกบูลลี่ในโลกออนไลน์ จะทำอะไรก็ควรคิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน. สืบค้นวันที่เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/articles/75361/. 21 กรกฎาคม 2564.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). ภาค 1 รวบสาวแสบ หลอกขายไอโฟน เหยื่อมากกว่า 100 คน เงินหมุนเกือบ 7 ล้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th /news/crime/2226786.

พนม คลื่ฉายา. (2559). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สําหรับนักเรียน มัธยมในประเทศไทย ระยะที่ 1. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). สัมมาสติในพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : กองทุนวุฒิธรรม กลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

วรัชญ์ ครุจิต. (2555). ความรู้เท่าทันสื่อ: ทักษะสำคัญสำหรับสังคมประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2564, http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3485

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2562). แนวทางการศึกษา และเครื่องมือการมอนิเตอร์สื่อออนไลน์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษาโครงการกลไกสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ.

Hobbs Renee. (2011). Digital and Media Literacy : Connecting Culture and Classroom. Corwin: California.

Wind, Y., Mahajan, V., & Gunther, R. E. (2011). Convergence Marketing : Running with the Centaurs. NJ : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-13