แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ: กลุ่มสตรี 4 ชุมชน ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะวดี ยอดนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อิรยา มณีเขียว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • พรกมล สาฆ้อง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, กลุ่มผู้ผลิต, 3. ผ้าย้อมสีธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในปัจจุบันของกลุ่มผู้ผลิตผ้าย้อมสีธรรมชาติ : กลุ่มสตรี 4 ชุมชน ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิต ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ผลิต จำนวน 45 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิต จำนวน 5 ด้าน ภาพรวมมีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\tilde{X}= 3.45, S.D. = 0.28) และแนวทางการบริหารจัดการกลุ่ม ได้แก่ 1) ด้านการจัดการ ควรมีโครงสร้างกลุ่ม มีการวางแผน มีเครือข่ายภายนอก 2) ด้านการผลิต ควรมีการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รักษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านผลิตภัณฑ์ ควรสร้างตราสัญญลักษณ์ สร้างบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) ด้านการตลาด จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของตลาด และ 5) ด้านเงินทุนหมุนเวียน ควรจัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ และจัดทำบัญชีตามมาตรฐาน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (2564). อัตลักษณ์สร้างอย่างไร ให้ปัง! (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, https://bsc.dip.go.th/th/category/marketing2/sm-buildingegosteals1.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). คู่มือเทคนิคและการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางบริหารกิจบ้านเมืองที่ดี : การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

จีระนันต์ เจริญรัตน์ และคณะ. (2559). แนวทางการสร้างช่องทางการตลาดผ้าห่มสี่เขาลายดอกแก้วผ่านโซเชียลมีเดีย: กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้า อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริพร พุทธโส. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร บางกะปิ จำกัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ mlw12/6114961019.pdf.

สืบศักดิ์ ลิ่วลักษณ์. (2564). SMEs อยากได้เงินลงทุนสักก้อนในช่วงหลังวิกฤตโควิด ต้องทำยังไง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/sme-lend-money-form-bank-after-covid-crisis.

อภิญญา สีดามน. (2564). เทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและบริการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564, https://sites.google.com/site/sersthsastrthikhwrru/thekhnoloyi-ni-kar-phlit-sinkha-laea-brikar?tmpl.

Alazwa, M. A. (2021). The Effectiveness of e-Marketing to Strengthen the Product Quality Customer Trust and Commitment with Organizations. A Systematic Literature Review from the Last Two Decades. Retrived September 1, 2021, from www.iiste.org.

Joel, P. A., Dawha, M. E., & Istifanus, L. I. (2020). Library Professionals’ Use of Social Media Technologies for Promoting Library Services in University Libraries in North East Nigeria. Department of Library and Information Science, University of Maiduguri.

Liu, M., Zhang, X., & Wu, H. (2021). The Impact of Platform Restriction on Manufacturer Quality Transparency in the Blockchain Era. International Journal of Production Research. 1-17.

Zhang, X. (2020). The Influences of Brand Awareness on Consumers’ Cognitive Process : An Event-Related Potentials Study. School of Management, Southwest University of Political Science and Law, Chongqing, China.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-13