การศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, บุคลากร, กลุ่มอำนวยการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะบุคลากรกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.889 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปพบว่า 1) สมรรถนะของบุคลากรกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปร้อยดังนี้ ด้านความร่วมแรงร่วมใจ (การทำงานเป็นทีม) ด้านการมุ่งผลสมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน อาชีพ ด้านบริการที่ดี และ ด้านจริยธรรม 2) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) จัดกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ร่วมกันทำงานเพื่อฝึกการแก้ปัญหาโดยผู้เข้าประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ และ 3) การส่งเสริมให้เรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนออนไลน์ต่าง ๆ โดยหน่วยงานสนับสนุน เช่น ให้เรียนรู้ในเวลาปฏิบัติงาน ให้ใช้อุปกรณ์ของสำนักงานในการเรียนรู้ คิดภาระงานให้
References
กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี. (2563). สารสนเทศ. สิงห์บุรี : กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 2 สิงห์บุรี.
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2550). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน : สมรรถนะหลัก. วารสารการบริหารการศึกษา, 1(1),25-28.
ชยาภรณ์ นินนานนท์. (2554). ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะ หลักของผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนใต้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ชาตรี เทียนทอง. (2556). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร กองการเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปริศนา พิมพา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัชนิดา รักกาญจนันท์. (2560). การพัฒนาบุคลากรตามกรอบสมรรถนะของข้าราชการสายงานวิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์ : หจก. ริมปิงการพิมพ์.
สาธร ทรัพย์รวงทอง และวราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุค ชดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครสวรรค์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 26(1), 44-52.
สายชล เกษอินทร์ และปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2561). แนวทางพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครตำรวจชุมชนเกาะทวีสถานีตำรวจชุมชนเกาะทวี (ตู้ยามโคบัง) จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารพิกุล. 16(2), 71-87.
สิทธิชัย บุษหมั่น. (2556). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมบนเว็บ เพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2550). การจัดโครงสร้างส่วนราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของ Competency. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2555, จาก http://www.hrcenter.co.th.
นภัสวรรณ เกียรติวุฒิกาญจน์. (2554). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของเลขานุการผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2(1), 90-99.
Certo, Samuel C. (2000). Modern Management. New York : Prentice - Hall.
Yamane, T. (1970). Stetistics, an Introductory Analysis. (3th ed). Tokyo : Harqer& Row.
Virtanen, T. (1996). The Competencies of New Public Managers," In New public managers in Europe : Tublic Servants in Transition, 53-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์