การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • สุนิศา รุ่งกลิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การบริหาร, หลักธรรมาภิบาล, สำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต้อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 230 คน ได้แก่ ข้าราชการฝ่ายอัยการ จำนวน 16 คน ข้าราชการพลเรือน จำนวน 6 คน และข้าราชการตำรวจ จำนวน 208 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one way ANOVA จากการทดสอบเป็นรายคู่ใช้วิธี LSD ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรีอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักคุณธรรม รองลงมา คือ หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักความ หลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ2) เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามเพศและตำแหน่ง พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน พบว่าไม่แตกต่างกัน 3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการจังหวัดสิงห์บุรี พบว่า มีปัญหา อุปสรรค ทั้ง 6 ด้าน

References

กาสัก เต๊ะขันหมาก.( 2553). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ชวบดินทร์ อิทธิพงศ์เดช. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรสังกัดที่ว่าการอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐสุดา ปันเงิน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

เทวัญ อุทัยวัฒน์.(2563). กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล. ธรรมาภิบาลของระบบยุติธรรมไทยมีอยู่จริง ? สืบค้นวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/74220

ธนกฤต วรธนัชชากุล. (2560). ศาลและองค์กรอัยการก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560. ย่อหน้าที่ 8 สืบค้นวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 จาก https://thaipublica.org/2017/05/constitutionlaw-2560/

นงค์คาร พึ่งพร้อม (2561). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภาภร เกษอางค์. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการในสำนักงานคดีอัยการสูงสุด สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นภาภร เกษอางค์. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการในสำนักงานคดีอัยการสูงสุด สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นันท์นภัส ศรีวะรมย์. (2562). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของอัยการจังหวัดในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนืออำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ไพรัช วรปาณิ มติชนออนไลน์. (2561). ปฏิรูป‘อัยการ’ยุคใหม่… เน้นความเป็นจริงและเป็นธรรม. สืบค้นวันที่ พฤศจิกายน 4, 2563, จาก ttps://www.matichon.co.th/article/news_1187882

ยุวดี พ่วงรอด. (2561). การขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลต่อการปฏิบัติราชการในยุคการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ กรณีศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 12(2), 334-351.

วรรณา เพ็งพวง. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วศินา พันธ์ทรัพย์, สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2563). แนวการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2), 45-58.

วิมลวรรณ หนูศรีแก้ว. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สำนักงานอัยการภาค 8. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 85-95.

สามารถ มังสัง เอ็มจีอาร์ออนไลน์. (2563). กระบวนการยุติธรรมถูกบิดเบือน : เหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรม.สืบค้นวันที่ พฤศจิกายน 4, 2563, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000084159

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-07