แนวทางการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในวิถีปกติใหม่

ผู้แต่ง

  • เกสิณี ชิวปรีชา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิมล จันทร์แก้ว มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ปฏิมา พูนทรัพย์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • นฤทธิ์ แสงสุขสว่าง มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • นริศว์ ปรารมย์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การบริหารสถานศึกษา, วิถีปกติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในวิถีปกติใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการ 2 ขั้นตอน 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 220 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ค่า PNI modified 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติการบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพ ที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในวิถีปกติใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก = 3.75, S.D. = 0.62 และ = 4.3, S.D. = 0.71 ตามลำดับ แนวทางการบริหารสถานศึกษา 2 แนวทางหลัก ดังนี้ 1) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการบริหาร ได้แก่ (1) การจัดการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีการสอนและอินเทอร์เน็ต (2) การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งแบบ Onsite และ Online โดยใช้แอพลิเคชั่น เช่น Zoom Google Classroom (3) การออกแบบหลักสูตรบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 .วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์.1 (2), 1-10.

พิชามญฐ์ แซ่จัน และ สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14 (2), 33-50.

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2563). การจัดการเรียนรู้ใน New Normal เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. www.curriculumandlearning.com

สุรพล อิสรไกรศีล. (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า "New normal" สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563. https://web.facebook.com/surapol.issaragrisil/posts/10207392559168907?_rdc=1&_rdr

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนสพฐ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activating. Journal of Education and Psychological Measurement, 3(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25 — Updated on 2022-04-25