ความสัมพันธ์ระหว่างบริบทสถาบันกับทักษะด้านนวัตกรรมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
บริบทสถาบัน, ทักษะด้านนวัตกรรม, สถาบันอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทสถาบันอุดมศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับทักษะด้านนวัตกรรมของบุคคลากรในสถาบันอุดมศึกษา และ 2) เพื่อต้องการสารสนเทศจากการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นข้อเสนอในการพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อไป ใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจากกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 120 ตัวอย่างแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า บริบทของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะการทำงาน ด้านนโยบายสถาบันอุดมศึกษา และ ด้านผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์กับทักษะด้านนวัตกรรมของบุคลากรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยเฉพาะด้านนโยบายองค์การ ที่พบว่ามีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงที่สุด (r=740) ซึ่งถือเป็นสารสนเทศสำคัญสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมให้กับบุคลากรให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของแต่ละสถาบัน และยังเป็นแนวทางการเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับสถาบันอุดมศึกษา ช่วยลดต้นทุนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสถาบันอุดมศึกษาต่อไป
References
นิตยา ถนอมศักดิ์ศรี เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และนฤมล ปทุมารักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมในองค์การพยาบาลตามการรับรู้ของหัวหน้างานพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาลาล. 36(2), 77-94.
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. (2564). สร้างนวัตกรรมเป็นวัฒนธรรมองค์กร. สืบค้นจาก http://www.budmgt.com/topics/top02/inno-culture.html, 2548.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). สารสนเทศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/vision.html
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). สารสนเทศสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://www.nia.or.th/innolinks/page.php?issue=201309§ion=4. 2013.
อาภารัตน์ มหาขันธ์. (2564). องค์กรนวัตกรรม : การสร้างวัฒนธรรมและระบบนิเวศนวัตกรรม. สืบค้นจาก http://www.thaindc.org/images/main_1426099571/11.pdf
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2564). 8 ขั้นตอนการสร้างวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/newmanagement/2011/05/15/entry-1, 2554.
Adair J. (2009). Leadership for Innovation: How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. London : Kogan Page.
Durst, S. and Poutanen, P. (2013). Success Factors of Innovation Ecosystems–initial Insights from a Literature Review. In Smeds, R and Irrmann, O. (eds.) CO-CREATE 2013 : The Boundary-Crossing Conference on Co-Design in Innovation : 27-38.
Kaplan, S. and Winby, S. “Organizational Models for Innovation”. InnovationPoint LLC. Retrieved December 4, 2012 From http://www.innovation-point.com/Organizational %20Models%20for %20Innovation.pdf.
KuczmarskiInnovation. “Live It (Innovation Culture)”. http://www.kuczmarski.com/liveit/, 2016.
Markman, A. “How to Create an Innovation Ecosystem”. Harvard Business Review. Retrieved December 4, 2012 from https://hbr.org/2012/12/how-to-createan-innovation-ec. 2012.
Morgan, J. “The Innovation Ecosystem for The Future of Work”. Forbes/Leadership. Retrieved August 12, 2015 from http://www.forbes.com/sites/jacobmorgan/ 2015/08/12/innovation-ecosystem-future-of-work/#2940975f6079, 2015.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัย ในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์